Author: รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์

ปรับพฤติกรรม รับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

/

เราเห็นข่าวแทบทุกวันถึงเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ คลื่นความร้อนและความเย็นที่ทำให้อากาศแปรปรวนแบบคาดเดาไม่ได้ ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจนบางเกาะที่เคยมีอยู่เริ่มจมหาย สัตว์หลายชนิดสูญพันธุ์ หากเราเป็นมนุษย์ที่ขับเคลื่อนโดยตรรกะและเหตุผล พวกเราคงต้องทำทุกวิธีเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ภาพดังกล่าวยังดูห่างไกลจากความเป็นจริงคำถามที่เราต้องหาคำตอบคือทำไม และปัจจัยใดที่จะสนับสนุนให้เราเปลี่ยนพฤติกรรม

สิทธิสตรี กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

/

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนับวันจะชัดเจนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างรู้สึกได้ ความเป็นกรดในมหาสมุทร และภัยธรรมชาติที่เกิดบ่อยครั้งและรุนแรงยิ่งขึ้น แต่หากจะบอกว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกี่ยวโยงกับสิทธิสตรีด้วย หลายคนคงจะสงสัย เพราะดูเป็นประเด็นที่ไม่น่าจะมาเกี่ยวข้องกันได้ ทั้งๆ ที่จริงๆ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก

วิทยากรร่วมเสวนา "ธุรกิจยึดจริยธรรมและธุรกิจที่ยั่งยืนในไทย"

ธุรกิจยึดจริยธรรมและธุรกิจที่ยั่งยืน (2) : แนวโน้มในประเทศไทย

/

การดำเนินธุรกิจโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นความเสี่ยงต่อชื่อเสียงของบริษัท หลายประเทศยังมีนโยบายปฏิเสธการรับซื้อสินค้าที่อาจมีวัตถุดิบปนเปื้อน ละเมิดสิทธิมนุษยชน และใช้ทรัพยากรอย่างไม่ยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานอีกด้วย ผลกระทบเชิงลบดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจในประเทศไทยไม่ควรละเลย และควรมีการร่วมกันคิดหาทางออกที่ยั่งยืนต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง

ธุรกิจยึดจริยธรรมและธุรกิจที่ยั่งยืน (1) : ภาพรวมจากบริบทโลก

/

ปัจจุบัน โลกเผชิญความท้าทายและภัยคุกคามมากมายเกินกว่าที่ภาครัฐเพียงลำพังจะสามารถรับมือได้ ปัญหาเหล่านี้ภาคธุรกิจย่อมมีส่วนรับผิดชอบในฐานะผู้ก่อปัญหา แต่ในทางกลับกัน ภาคธุรกิจก็สามารถเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ ผ่านการร่วมมือเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับมหภาค

BIOFIN: ผสานสองศาสตร์เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ

/

การลงทุน มูลค่า และการเงิน ดูจะเป็นคำที่อยู่ห่างไกลหรือแทบจะเป็นขั้วตรงข้ามของคำว่าการอนุรักษ์ หรือความหลากหลายทางชีวภาพ แต่ปัจจุบัน นักเศรษฐศาสตร์สามารถประเมินคุณค่านิเวศบริการให้เป็นตัวเงิน และมูลค่าดังกล่าวถือเป็นจุดตั้งต้นในการจัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสมเพื่อการอนุรักษ์

ความยั่งยืน (ฉบับย่นย่อ) – ว่าด้วยทุนนิยม สังคม สิ่งแวดล้อม และธุรกิจสมัยใหม่

/

ในแต่ละวัน คุณได้เห็นหรือได้ยินคำว่า “ความยั่งยืน” กี่ครั้ง แล้วเราเข้าใจความหมายของ “ความยั่งยืน” ถูกต้องแล้วหรือยัง ป่าสาละชวนมาคุยกับสองผู้ก่อตั้งบริษัทป่าสาละ สฤณี อาชวานันทกุล และภัทราพร แย้มละออ เพื่อคลายข้อสงสัยในประเด็นด้านความยั่งยืน

ข้อตกลงปารีส: สู่แสงสว่างหรือทางตัน ?

/

ข้อตกลงปารีส (The Paris Agreement) ผลลัพธ์ของการประชุม COP21 ที่ฝ่ายการเมือง กล่าวว่า “เปรียบเสมือนก้าวที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ” ขณะที่องค์กรภาคเอกชนและนักวิชาการมองว่าผลลัพธ์ดังกล่าว “น่าผิดหวัง และไม่ต่างจากการหลอกลวง” ทำไมมุมมองจากสองฝั่งถึงแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว อ่านรายละเอียดได้ในบทความ

Interface กับกลยุทธ์เพื่อความยั่งยืน

/

Interface เป็นบทพิสูจน์สำคัญของนักธุรกิจที่ยังคงตั้งคำถามถึงมูลค่าเพิ่มจากกลยุทธ์ที่ยั่งยืน รวมทั้งทำลายกรอบความเชื่อที่ว่าอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบปิโตรเคมีอย่างพรมไม่มีทางยั่งยืนได้ และยังเป็นบทเรียนสำคัญว่าความยั่งยืนสร้างได้ แต่ต้องมีความทุ่มเทที่จะสร้างอย่างต่อเนื่องและจริงจัง

Carrotmob ยั่งยืนได้ด้วยคนละไม้คนละมือ

/

ที่ผ่านมา ผู้บริโภคมักแสดงความไม่พอใจโดยการ ‘บอยคอต’ ไม่ซื้อสินค้าซึ่งถือเป็นไม้แข็ง แต่ Carrotmob ลองปรับมุมมองใหม่ว่านักธุรกิจและบริษัทไม่ใช่ผู้ร้าย แต่สิ่งที่พวกเขาให้ความสำคัญมากที่สุดคือเงิน ดังนั้นหากผู้บริโภครวมตัวกันมากพอ ก็น่าจะสามารถใช้อำนาจในการซื้อมากดดันให้บริษัทปรับปรุงพฤติกรรมได้

ผลตอบแทนของ “คำที่สอง”

/

ปัญหาขยะอาหารที่ไม่ได้มาตรฐานเป็นความจริงที่น่าขมขื่น เพราะประเทศที่ร่ำรวยใช้ชีวิตราวกับไม่มีผู้คนอดอยากบนโลก องค์กรไม่แสวงหากำไร Secondbite จึงถือกำเนิดขึ้น โดยในแต่ละปี Secondbite ได้ส่งอาหารสดใหม่และมีสารอาหารครบถ้วนกว่า 7 ล้านกิโลกรัม ไปบรรเทาความหิวโหยของประชาชนผู้ขาดแคลนทั่วออสเตรเลีย

หน้าที่ 4 จาก 512345