Blog

ขยะอาหารกับความเข้าใจผิดเกี่ยวกับวันหมดอายุ

/

แม้ธุรกิจอาหารจะพยายามสร้างมาตรฐานโดยการแปะป้ายวันที่ว่า ‘เมื่อไหร่’ ที่สินค้าจะหมดอายุ นำไปสู่การทิ้งอาหารให้กลายเป็นขยะทั้งที่ยังรับประทานได้ ความจริงแล้วการตัดสินใจว่าอันไหนต้องพึ่งพาการรับรู้ของเราเองไม่ว่าจะเป็นรูป รส กลิ่น สี สัมผัส ส่วนวันที่บนฉลากนั้นควรเป็นเพียงแค่ปัจจัยรอง

แอนโทรโปซีน (Anthropocene) คืออะไร?

/

‘แอนโทรโปซีน (Anthropocene)’ คือช่วงเวลาที่มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งทิ้งขยะจำนวนมหาศาลลงในมหาสมุทร หักร้างถางพงผืนป่าแล้วเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ถมผืนดินด้วยปุ๋ยเคมี ปล่อยมลภาวะทางอากาศ เช่น แก๊สเรือนกระจกจนเกิดวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เนื้อก็อยากกิน โลกก็อยากรักษ์ แล้วเราจะทำอย่างไรดี?

/

ผลิตภัณฑ์จากฃใช้ทรัพยากรมหาศาลในการผลิต อีกทั้งเหล่าปศุสัตว์ก็เป็นแหล่งปล่อยแก๊สเรือนกระจกซึ่งเป็นต้นเหตุของวิกฤติสภาพภูมิอากาศโดยคิดเป็นสัดส่วนราว 15 เปอร์เซ็นต์ของแก๊สเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ ปัจจุบันคนรักเนื้อมีทางเลือกเพิ่มขึ้น ทั้งการซื้อเนื้อสัตว์จากปศุสัตว์แบบรักษ์โลก เนื้อสัตว์ที่ไม่มีเนื้อสัตว์ซึ่งพัฒนาจนรสสัมผัสใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์จริงๆ ไปจนถึงเนื้อสัตว์จากห้องแล็บที่กำลังจะวางขายเชิงพาณิชย์เร็วๆ นี้

การเข้าสู่ดัชนี DJSI คือจุดเริ่มต้นไม่ใช่ปลายทาง

/

แม้ว่าประเทศไทยจะยืดอกอย่างภูมิใจว่าเป็นประเทศที่มีบริษัทอยู่ในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices) หรือ DJSI ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งของอาเซียน บางคนตีความไปว่าบริษัทเหล่านั้นคือบริษัทที่บรรลุเป้าหมายด้าน ‘ความยั่งยืน’ แต่ความเข้าใจดังกล่าวนั้นผิดถนัด เพราะ DJSI เป็นวัด ‘โดยเปรียบเทียบ’ อีกทั้งยังโดนตั้งคำถามถึงความน่าเชื่อถือของข้อมูล เช่นเดียวกับกรณีอื้อฉาวหลายต่อหลายครั้งที่สะท้อนให้เห็นว่าบริษัทใน DJSI อาจไม่ได้ยั่งยืนอย่างที่หลายคนคิด

“สะกิด” อย่างไร ให้คนกินอาหารที่มีประโยชน์และพอเหมาะ

/

‘โรคอ้วน’ กลายเป็นโรคระบาดใหญ่ในหมู่คนมีอันจะกินและยังเป็นจุดเริ่มต้นของความป่วยไข้ต่างๆ ที่ผ่านมารัฐบาลก็จนปัญญาจะแก้ไข เพราะการบังคับใช้กฎหมายขั้นเด็ดขาดคงเป็นไปได้ยาก ส่วนการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ก็เปลี่ยนพฤติกรรมของคนได้แค่หนึ่งหยิบมือ นี่คือโอกาสที่การสะกิด (Nudge) เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมเป็นพระเอก เพราะการสะกิดไม่ใช่การบังคับ แต่เป็นการเปลี่ยนกระบวนการ รูปแบบ หรือสภาพแวดล้อมเพื่อทำให้กลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนพฤติกรรมในทิศทางที่พึงประสงค์

จาก “สงครามอวกาศ” สู่ “ขยะอวกาศ”

/

เทคโนโลยียานอวกาศเริ่มต้นขึ้นในช่วงสงครามเย็น ที่เกิดความตึงเครียดทางการเมืองและการทหารระหว่างสหรัฐฯอเมริกากับสหภาพโซเวียต ระหว่างปี ค.ศ. 1947 ถึง 1991 ซึ่งนอกจากการแข่งกันสร้างระเบิดนิวเคลียร์แล้ว สงครามแห่งเทคโนโลยีในอวกาศอย่างดาวเทียมโคจรรอบโลกที่เกินกว่าจินตนาการของมนุษย์ธรรมดาหลายๆ คน ก็ปรากฎขึ้น

พุทธเศรษฐศาสตร์ ทางออกของปัญหาที่ยั่งยืนในโลกปัจจุบัน

/

ทุกวันนี้โลกต้องพบเจอกับปัญหามากมาย โดยเฉพาะปัญหาโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ อันเกิดจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ที่เบียดเบียนและสร้างความเสียหายให้กับสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรของโลกที่มีอยู่อย่างจำกัดจึงไม่เพียงพอกับการสนองความต้องการที่ไม่มีสิ้นสุดของมนุษย์

ฝ่าวิกฤติโควิด-19 ด้วยนโยบายฟื้นเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

/

การระบาดของโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจหลายประเทศเจ็บหนัก สิ่งแวดล้อมจึงกลายเรื่องรองที่ต้องรอให้เศรษฐกิจฟื้นตัว แต่หากไม่รีบลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในปัจจุบัน ต้นทุนของการไม่ทำอะไรอาจสูงถึง 600 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในสิ้นศตวรรษนี้ โชคดีที่เรายังพอมีทางออก นั่นคือการออกแบบนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ที่เอื้อต่อการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ เป็นการก่อร่างสร้างเศรษฐกิจที่พังทลายขึ้นมาใหม่ให้พร้อมรับมือกับวิกฤติภูมิอากาศที่กำลังจะมาถึงในอนาคต

คลายข้อสงสัยและทำความเข้าใจ ‘ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง’

/

ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงมีจุดกำเนิดตั้งแต่ราว 30 ปีก่อนโดยใช้เป็นแกนหลักอำนวยความสะดวกในการประเมินผลลัพธ์ของโครงการ แต่นับวันคำว่าทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงดูจะมีความหมายผิดแผกแตกต่างไปจากเดิม เกิดเป็นช่องว่างทางความเข้าใจในแวดวงธุรกิจเพื่อสังคมและนักประเมินผลลัพธ์ของโครงการที่มีเป้าหมายสาธารณะ บทความวิชาการโดย Maoz Brown ชวนเราทบทวนนิยามเกี่ยวกับทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงแล้วนำมาสรุปเป็นกรอบคิดได้อย่างน่าสนใจ จึงเป็นโอกาสอันดีที่เราจะมาทำความเข้าใจอีกครั้งว่าทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงมีความหมายว่าอะไรกันแน่

นักวิทยาศาสตร์สร้างแบบจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไร?

/

เคยสงสัยไหมครับว่าเหล่านักวิทยาศาสตร์สร้างแบบจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไร เพื่อใช้คาดทำนายระดับอุณหภูมิในอนาคตที่ไกลแสนไกลถึงอีก 80 ปีข้างหน้า? บทความนี้ ชวนมาทำความเข้าใจแบบจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขั้นพื้นฐาน ทำความรู้จักฉากทัศน์การปล่อยแก๊สเรือนกระจก และเตรียมความพร้อมสำหรับรายงานการประเมินฉบับที่ 6 ของไอพีซีซีที่เราน่าจะได้เห็นภายในสิ้นปีหน้า

หน้าที่ 5 จาก 15« First...34567...10...Last »