Suspected human trafficking victims are crammed on a Thai trawler, which was rescued by the Bangladesh Coast Guard, in southern Bangladesh on June 11, 2014, in this handout picture provided by the Bangladesh Coast Guard. REUTERS/Bangladesh Coast Guard/Handout via Reuters

Suspected human trafficking victims are crammed on a Thai trawler, which was rescued by the Bangladesh Coast Guard, in southern Bangladesh on June 11, 2014, in this handout picture provided by the Bangladesh Coast Guard. REUTERS/Bangladesh Coast Guard/Handout via Reuters

บริษัท ป่าสาละ จำกัด ร่วมกับ สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้ดำเนินโครงการวิจัยเรื่อง “การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) และการจัดทำคู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนของธุรกิจการโรงแรมอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook )
รวมทั้งรายการตรวจสอบ (checklist ) ที่เกี่ยวข้อง”

จากสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยภาคธุรกิจที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในหลายทศวรรษที่ผ่านมานั้น ทำให้องค์การสหประชาชาติได้มีความพยายามในการสร้างบรรทัดฐานสากลเพื่อกำกับดูแลการประกอบธุรกิจเป็นลำดับ โดยในปี พ.ศ. 2554 สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ได้ออก “หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights)” ซึ่งประกอบไปด้วยหลักการสำคัญ 3 ประการ คือ 1) การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (Protect) ระบุให้รัฐมีหน้าที่ในการคุ้มครองไม่ให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากองค์กรของรัฐหรือบุคคลที่สาม ซึ่งหมายรวมถึงองค์กรภาคธุรกิจด้วย 2) การเคารพสิทธิมนุษยชน (Respect) ระบุให้องค์กรและบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์กรภาคธุรกิจมีหน้าที่ในการเคารพสิทธิมนุษยชน และ 3) การเยียวยา (Remedy) ระบุว่าเมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นรัฐจะต้องจัดให้มีการเยียวยาที่เหมาะสมทั้งในกระบวนการยุติธรรม (judicial) และนอกกระบวนการยุติธรรม (non- judicial) รวมทั้ง ยังเรียกร้องให้องค์กรภาคธุรกิจควรจัดให้มีช่องทางในการร้องเรียนและเยียวยาเมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น ไม่ว่าโดยกิจการนั้นเองหรือการรวมกลุ่มองค์กรภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องที่ได้รวมกันเป็นสมาคมธุรกิจ

นอกจากองค์การสหประชาชาติแล้ว องค์การระหว่างประเทศต่างๆ ก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญต่อประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากภาคธุรกิจ และจัดทำหลักปฏิบัติหรือมาตรฐานเพื่อให้ภาคธุรกิจนำไปปฏิบัติมากมาย โดยข้อมูลจากรายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “มาตรฐานสากลในการดำเนินธุรกิจเพื่อการเคารพสิทธิมนุษยชน” ระบุว่า หัวใจของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของภาคธุรกิจอยู่ที่การตรวจสอบและประเมินสถานะขององค์กรด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Due Diligence-HRDD) นอกจากนี้ ข้อมูลสรุปสถานการณ์ท่องเที่ยวไทย ปี 2558 ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาที่ระบุว่า ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวอยู่ที่ 2.23 ล้านล้านบาท มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศมากถึง 29.88 ล้านคน กสม. โดยคณะอนุกรรมการด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จึงได้จัดสัมมนา เรื่อง “ธุรกิจการท่องเที่ยวและการโรงแรมกับการเคารพสิทธิมนุษยชนตามหลักการชี้แนะของสหประชาชาติ (The UN Guiding Principles on Business and Human Rights-UNGPs)” ในวันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน 2559 ณ โรงแรมกะตะ บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความตระหนักให้ภาคธุรกิจเห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของการดำเนินธุรกิจโดยเคารพสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมการเติบโตของภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและการโรงแรมอย่างมั่นคง (stable) และยั่งยืน (sustainable) โดยการสัมมนาได้มีข้อเสนอแนะให้มีการจัดทำคู่มือตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) สำหรับธุรกิจการโรงแรมและการท่องเที่ยวขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนให้ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและการโรงแรมได้มีเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบและประเมินด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านต่อไป

โครงการวิจัยระยะเวลา 4 เดือนดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำ 1) รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)” 2) คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนของธุรกิจการโรงแรมอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) และ 3) รายการตรวจสอบ (checklist) ที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เพื่อเป็นคู่มือในการตรวจสอบและประเมินสถานะขององค์กรในด้านสิทธิมนุษยชนของธุรกิจด้านการโรงแรม

ดาวน์โหลดรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ และคู่มือประเมินผลการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ได้จากที่นี่:

เผยแพร่ครั้งแรก มีนาคม 2561