Social Impact Assessment (SIA) and Social Return on Investment (SROI)

การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและการคำนวณผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน

องค์กรทุกรูปแบบสามารถนำวิธีประเมิน “ผลลัพธ์ทางสังคม” (Social Impact Assessment: SIA) และการคำนวณ “ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน” (Social Return on Investment: SROI) ไปใช้ในการคาดการณ์หรือประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและความคุ้มค่าทางสังคมของโครงการ ผลิตภัณฑ์ หรือองค์กร ไม่ต่างจากการคำนวณผลตอบแทนทางการเงินของบริษัททั่วไป

คอร์สนี้ครอบคลุมแนวคิด ระเบียบวิธี และการปฏิบัติที่จำเป็นต่อการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม ตั้งแต่การระบุตัวผู้มีส่วนได้เสีย วิธีเขียน “ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change) วิธีระบุห่วงโซ่ผลลัพธ์ (Impact Value Chain) และการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) โดยใช้กรณีศึกษาจากโลกธุรกิจจริง

หลักสูตรที่ 1: หลักสูตรพื้นฐาน (Beginner) จำนวน 2 วัน

กลุ่มเป้าหมาย: ผู้ที่ยังไม่มีพื้นฐานด้านการวัดผลลัพธ์ทางสังคมและการคำนวณผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน หรือยังไม่เคยทดลองใช้เครื่องมือการประเมินดังกล่าว

หัวข้ออบรม:

  • ความหมายและวิธีวัดผลลัพธ์ทางสังคมและผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน
  • วิธีระบุเป้าหมายทางสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร และผู้มีส่วนได้เสีย
  • ขั้นตอนการสร้างทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง ห่วงโซ่ผลลัพธ์ และกรณีฐาน (Base Case Scenario)
  • การออกแบบกระบวนการเก็บข้อมูล อธิบายตัวชี้วัดทางสังคม และวิธีแปรผลตัวชี้วัดเป็นมูลค่าทางการเงิน
  • ข้อควรระวังในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน
  • การออกแบบแผนการประเมินผลกระทบทางสังคมสำหรับองค์กรในอนาคต
  • กิจกรรม Workshop: การเขียนทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง ห่วงโซ่ผลลัพธ์และการฝึกคำนวณ SROI จากกรณีศึกษาตัวอย่าง

หลักสูตรที่ 2: หลักสูตรระดับกลาง (Intermediate) จำนวน 2 วัน

กลุ่มเป้าหมาย: ผู้ที่เข้าใจพื้นฐานด้านการวัดผลลัพธ์ทางสังคมและการคำนวณผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนแล้ว และต้องการฝึกการวางแผนการวัดผลลัพธ์ทางสังคม การเลือกตัวชี้วัดที่เหมาะสม การเลือกค่าแทนทางการเงินและการลงมือคำนวณ SROI กับโครงการหรือกิจการที่ตนเองรับผิดชอบอยู่ เพื่อนำข้อมูลที่ฝึกที่ Workshop ไปใช้ประเมินจริง

หัวข้ออบรม:

  • การกำหนดขอบเขตและระยะเวลาที่เหมาะสมในการประเมินโครงการย้อนหลังหรือคาดการณ์ผลลัพธ์ไปในอนาคต
  • การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับโครงการ/กิจการเพื่อสังคม
  • การตั้งทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงและห่วงโซ่ผลลัพธ์
  • การเลือกตัวชี้วัดทางสังคม (social impact indicator) ที่เหมาะสม
  • การแปลงตัวชี้วัดทางสังคมให้เป็นค่าแทนทางการเงิน (proxy) และการหาข้อมูลกรณีฐาน (Base Case Scenario)
  • การคำนวณ SROI และการคำนึงถึงปัจจัยมูลค่าเงินตามเวลา (Time Value of Money)
  • กิจกรรม Workshop: การฝึกประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและการคำนวณ SROI จากโครงการหรือกิจการเพื่อสังคมที่ผู้เข้าเรียนรับผิดชอบอยู่ ผู้เข้ารวมต้องเตรียมข้อมูลของโครงการหรือกิจการเพื่อสังคมของตนเองมาใช้ประกอบการเข้าร่วม Workshop ด้วย (บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเลือกโครงการหรือกิจการเพื่อสังคมที่เหมาะสมกับการใช้เครื่องมือ SROI เข้าร่วม Workshop เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เข้าเรียน)

การอบรมครั้งต่อไป

หลักสูตรที่ 1 – หลักสูตรพื้นฐาน (Beginner) ออนไซต์ มีดังนี้

  • วันที่ 20-21 กรกฏาคม  2566
  • วันที่ 23-24 พฤศจิกายน 2566

หลักสูตรที่ 2 – หลักสูตรระดับกลาง (Intermediate) ออนไซต์

  • วันที่ 20-21 กันยายน 2566
  • โดยต้องมีผู้ลงทะเบียนจากองค์กรเดียวกันหรือต่างองค์กรจำนวน 6 ท่านขึ้นไป ท่านที่สนใจสามารถกรอกแบบฟอร์มได้ ที่นี่  หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 081 370 7899

 

ราคา

หลักสูตรที่ 1 – หลักสูตรพื้นฐาน (Beginner) ออนไซต์ ราคา 11,750 บาทต่อท่าน*   หากลงทะเบียนจากองค์กรเดียวกัน 2 ท่านขึ้นไป ลดเหลือท่านละ 10,575 บาท

หลักสูตรที่ 2 – หลักสูตรระดับกลาง (Intermediate) ออนไซต์ ราคา 26,000 บาทต่อท่าน* (เน้นเรียนประกบตัวต่อตัว รับจำนวนจำกัด)

*(ราคานี้รวมเอกสารประกอบการเรียน และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้ว)

หมายเหตุ
1. บริษัท ป่าสาละ จำกัด ขอสงวนสิทธิในการยกเลิกหรือเลื่อนการจัด workshop ในกรณีที่มีจำนวนผู้เข้าร่วมอบรมน้อยกว่าจำนวนขั้นต่ำที่บริษัทฯ กำหนดไว้ ทั้งนี้ บริษัทฯ จะคืนเงินค่าเข้าร่วม workshop เต็มจำนวนให้แก่ผู้เข้าร่วมที่ชำระเงินแล้ว
2. บริษัท ป่าสาละ จำกัด ขอสงวนสิทธิในการคืนเงินค่าเข้าร่วม workshop หรือเปลี่ยนรอบการเข้าร่วม workshop ให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม ในกรณีที่มีการชำระเงินแล้ว แต่ผู้เข้าร่วมอบรมตามรายชื่อที่แจ้งไว้ไม่มาเข้าร่วม workshop ตามวัน เวลา และสถานที่ซึ่งบริษัทฯ แจ้งไว้ในกำหนดการ

การลงทะเบียน

ขั้นตอนการลงทะเบียนและชำระเงิน:

  1. ลงทะเบียนสำรองที่นั่งออนไลน์โดยคลิกที่ลิงค์ด้านล่าง
  2. รอรับอีเมลยืนยันการลงทะเบียน และรายละเอียดในการชำระเงิน
  3. ส่งหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล info@salforest.com
  4. ป่าสาละจะจัดส่งใบตอบรับการลงทะเบียน และใบเสร็จรับเงินไปที่อีเมลหรือที่อยู่ของท่าน

หลักสูตรพื้นฐาน (Beginner) ออนไซต์

  • ท่านที่สนใจเข้าร่วมการอบรม วันที่ 20-21 กรกฎาคม 2566 สามารถกรอกแบบฟอร์มได้ ที่นี
  • ท่านที่สนใจเข้าร่วมการอบรม วันที่ 23-24 พฤศจิกายน 2566 สามารถกรอกแบบฟอร์มได้ ที่นี

หลักสูตรระดับกลาง (Intermediate) ออนไซต์

  • ท่านที่สนใจเข้าร่วมการอบรมสามารถกรอกแบบฟอร์มได้ ที่นี

ผู้สอน:

สฤณี อาชวานันทกุล
นักเขียน นักแปล นักวิชาการและอาจารย์พิเศษ ผู้คร่ำหวอดในวงการการเงิน นอกจากจะเขียนบทความเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนและการเงินเพื่อสังคมอย่างสม่ำเสมอแล้ว สฤณียังได้เขียนและแปลหนังสือกว่า 50 เล่ม ภายในเวลา 10 ปีหลังจากที่ลาออกจากงานประจำในภาคการเงิน

ภัทราพร ยาร์บะระ
อาจารย์พิเศษที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ม.ธรรมศาสตร์ ภัทราพรเป็นหัวหน้าโครงการและเป็นนักวิจัยหลักด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของทั้งโครงการซีเอสอาร์และกิจการเพื่อสังคม มากกว่า 12 โครงการในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา

ดาวน์โหลดคู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน ฉบับปรับปรุง 2560 โดยสฤณี อาชวานันทกุลและภัทราพร แย้มละออ สนับสนุนในการจัดทำ โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ตั้งแต่พ.ศ. 2557 ป่าสาละได้จัดคอร์สอบรมระยะสั้นในหลักสูตรการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact Assessment: SIA) และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return on Investment: SROI) สู่สาธารณะมากกว่า 20 ครั้ง จากองค์กรในหลายภาคส่วน เช่น ภาคธุรกิจ ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ สถาบันอุดมศึกษา องค์กรพัฒนาสังคมและกิจการเพื่อสังคม อาทิ เช่น บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การไฟฟ้านครหลวง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัท อีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด และบริษัท บูโร เวอริทัส (ประเทศไทย) เป็นต้น

นอกจากนี้ ป่าสาละยังจัดคอร์สอบรมระยะสั้นในหลักสูตรนี้เป็นการภายในให้กับพนักงานขององค์กรต่าง ๆ มากกว่า 15 ครั้ง เช่น ที่บริษัท เอสซีจี จำกัด (มหาชน) กลุ่มบริษัทพรีเมียร์และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  เป็นต้น

ผลงานด้านการวางระบบประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและวัดผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน
ตั้งแต่พ.ศ. 2557 ป่าสาละได้ออกแบบการวางระบบประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและวัดผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนสำหรับโครงการซีเอสอาร์และกิจการเพื่อสังคมให้กับองค์กรต่าง ๆ โดยมีตัวอย่าง (ส่วนหนึ่ง) ดังต่อไปนี้

  • บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จำนวน 4 โครงการ
  • มูลนิธิพุทธรักษา ภายใต้บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด จำนวน 1 โครงการ
  • บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) จำนวน 1 โครงการ
  • บริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ในธุรกิจเคมีภัณฑ์ จำนวน 1 โครงการ
  • บริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ในธุรกิจซิเมนต์ จำนวน 1 โครงการ
  • กิจการเพื่อสังคมจำนวน 6 แห่ง (ทำร่วมกับอาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ)
  • ฯลฯ

Testimonials

ก่อนหน้านี้อ่านหนังสือคู่มือ SROI ก่อนมาเรียน พอได้มาเรียนจริงก็ทำให้ได้ตรวจสอบความเข้าใจของตัวเองว่าถูกต้องแล้วหรือไม่ และการเรียนพร้อมกับมีเอกสารประกอบต่าง ๆ ก็ทำให้เราเข้าใจหลักการมากขึ้น ได้เอามาปรับใช้กับงานที่ทำ นำมาใช้ช่วยเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับโครงการเพื่อสังคม อีกทั้ง ชอบที่ได้เรียนกับเพื่อนที่มาจากหลายๆ sector ทำให้ได้คิดตามมองเห็นอีกหลายมุมมองเวลาทำแบบฝึกหัด

คุณธชา อุนนานนท์

รองผู้อำนวยการ งานคุณค่าองค์กรและพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจ, บริษัท พรีเมียร์ ฟิชชั่น แคปปิตอล จำกัด

ตอนแรกสนใจเรื่องทางสังคมอยู่แล้ว โดยเฉพาะธุรกิจเพื่อสังคม แต่อยากรู้ว่าจะนำมาวัดผลอย่างไรได้บ้าง เพราะตอนแรกมันดูจับต้องอะไรไม่ได้เลย พอได้เรียนแล้วทำให้มีความรู้ ความเข้าใจและคำถามในใจในเบื้องต้นของภาพรวม
ได้นำ Theory of Change และ Impact Value Chain มานั่งทำกันภายในองค์กร ทำให้ทุกคนในทีมเกิดความเข้าใจและมองเห็นภาพที่เหมือนกันมากขึ้น

ส่วนตัวแล้วชอบที่ในคอร์ส SIA/SROI มีแบบฝึกหัดให้ทำ ให้ได้คิด และทำตามไปเลย นอกจากนี้ผู้เข้าเรียนยังมาจากหลายอุตสาหกรรม เวลาคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในคลาส ทำให้เห็นมุมมองต่าง ๆ จากคนหลายอุตสาหกรรม

คุณอลิสา ตริยถาวรวงศ์

บริษัท คิด ฮีโร่ (ไทยแลนด์) จำกัด

นอกเหนือจากตัวหลักสูตรที่เข้มข้นสำหรับ Beginnerแล้ว ยังได้เพื่อนจากหลายหน่วยงานหลาย sector ทำให้เราได้เรียนรู้จากกรณีที่เป็นเคสตัวอย่างต่างๆ อย่างหลากหลาย

หลังจากเรียนแล้ว ได้ใช้ในการวางแผนทำโครงการที่เป็นด้านสังคมและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น โครงการมีผลตอบแทนเท่าไหร่ ความคาดหวังที่อยากจะทำให้สำเร็จคืออะไร ว่าอยากให้เกิดขึ้น ทั้งยังมีประโยชน์ต่อการทำ proposal ให้ผู้บริหาร ซึ่งทำให้ผู้บริหารเห็นว่า การลงทุนในโครงการนี้จะให้ผลตอบแทนอะไรบ้าง

คุณภาติกร ลัคนะเวทย์

Public Affairs Manager, Corporate Affairs Department, Suntory PepsiCo Beverage (Thailand) Co. Ltd.

เนื่องจากทางโครงการที่กลุ่ม ปตท. ทำอยู่ ไม่เคยมีตัวชี้วัด หรือไม่เคยคำนวณค่าที่ใช้ชี้วัดผลของโครงการ การทำ SROI ก็เหมือนได้นำมาใช้เป็นตัวแทนที่แสดงผลตอบแทนของโครงการที่ได้ทำไป แทนที่จะวัดผ่านตัวชี้วัดธรรมดาๆ เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ SROI สามารถนำมาใช้ได้ดีกว่า

คอร์สนี้ทำให้ได้หลักการชัดเจน ป่าสาละอธิบายเนื้อหาได้ชัดเจนมาก ชอบที่ป่าสาละ comment ในแบบฝึกหัด เพราะชัดเจนและเข้าใจมาก ๆ

คุณเขมิกา ศรีเจริญวงษ์

พนักงานมวลชนสัมพันธ์, ปตท. ระยอง

ในการเวิร์กช็อป อาจารย์ให้คำตอบได้ดี ถามได้ตอบได้ และตอบจากประสบการณ์ คาดเดาได้ว่าผู้เรียนสงสัยอะไร และตอบได้ตรงจุด หลังจากเรียนแล้วได้นำความรู้มาใช้ในการรายงานผลให้ผู้บริหารดู หากใช้ SROI เข้ามาประกอบการรายงาน ก็จะทำให้ผลลัพธ์ของโครงการมีน้ำหนักมากขึ้น เห็นความคุ้มค่าและมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยเครื่องมือที่ประยุกต์ใช้กับงานโดยตรงเลยก็คือ Impact Value Chain ทำให้เห็นภาพรวมและเส้นการสร้าง impact ของโครงการทั้งหมด เห็นว่าโครงการเราจะมีอะไรเกิดขึ้น

คุณนนทิญา ช่อทอง

พนักงานมวลชนสัมพันธ์, ปตท. ระยอง

ชอบ session ที่ให้มีการพูดคุยและตอบคำถามกันไปมา ไม่น่าเบื่อ ชอบความเป็นกันเอง ด้านประโยชน์ที่ได้จากการเรียนคอร์สนี้คือ เวลาเราอ่านรายงานผลลัพธ์ทางสังคมของโครงการต่างๆ หรือโครงการที่ทำ SROI ส่วนตัวมีความเข้าใจและอ่านรายงานรู้เรื่องมากขึ้น และบางครั้งความรู้ที่ได้ ทำให้เราสามารถช่วยแนะนำลูกค้าได้ เพราะเราจะเห็นและเข้าใจว่าโปรเจกต์นี้ ดีหรือไม่ คัดเลือกโปรเจกต์ ที่เกิดประโยชน์มากที่สุดได้ จากความเข้าใจที่มาที่ไปของผลลัพธ์ที่รายงานอยู่ในตัวเลข

เจ้าหน้าที่, Deutsche Gesellschaft fuer Internationale Zusammenarbeit (GIZ)

ที่ผ่านมามีความสนใจศึกษาเรื่องนี้อยู่แล้ว เนื่องจากงานวิจัยที่ทำเกี่ยวข้องกับเรื่องกิจการเพื่อสังคม ซึ่งบางครั้งมีการคิดผลตอบแทนที่ไม่ใช่ตัวเงินหลายอย่าง เลยอยากทราบว่าในส่วนการคิดคำนวณผลตอบแทนด้านสังคม วัดผลอย่างไร มีความคุ้มค่าหรือไม่อย่างไร ในเเง่ของตัวเงิน
พอมาเรียนแล้วมีความรู้และความเข้าใจมากขึ้นในเรื่อง concept กระบวนการทำและขั้นตอนการทำ SROI และตัวเอกสารประกอบการสอนที่ได้รับค่อนข้างครอบคลุมและสามารถเอาไปศึกษาต่อได้ นอกจากนี้ยังชอบอาจารย์ผู้สอนและทีมงาน เพราะอาจารย์สอนแบบเข้าใจง่าย รู้ว่าควรเน้นจุดไหน ชอบตอนแบ่งกลุ่มให้ลงมือทำโจทย์ตัวอย่างจริงพร้อม ๆ กัน

คุณอภินันท์ เอื้ออังกูร

อาจารย์ประจำ, มหาวิทยาลัยทักษิณ

สนใจมาเรียนเพราะต้องใช้ในการทำงาน และยังไม่รู้เรื่องนี้มาก่อน และเมื่อศึกษาหาข้อมูลพบว่า ป่าสาละเป็นผู้มีประสบการณ์และมีการจัด training เรื่องนี้มาก่อน วิทยากรมีการปูพื้นฐาน การให้ feedback และ comment กลับเวลาทำงาน จึงได้นำมาปรับใช้ในการวางเป้าหมายโครงการ (แบบ CSR) เบื้องต้น

คุณณยฎา ล่อใจ

Corporate sustainability Development, บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)

เป็นคอร์สที่ดีมาก มีทฤษฎีที่ทำให้เข้าใจ ได้ฝึกปฏิบัติ และมีการถามตอบให้ได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่เราคิด ถูกหรือผิด เปิดมุมมองในการทำการประเมินของเราได้มากขึ้น แยกแยะได้ว่าสิ่งที่ควรรวมหรือข้อมูลที่ควรจับเข้ามาใช้ในการประเมินควรเป็นอะไรบ้าง ทำให้เราเลือกค่าแทนทางการเงินที่เหมาะสมและตอบโจทย์ได้ชัดเจนมากที่สุด และได้รู้แหล่งข้อมูลที่ใช้หาค่าแทนทางการเงิน นอกจากนี้ อาจารย์ยินดีที่จะถ่ายทอดความรู้ การตอบคำถาม base on หลักการทุกอย่าง เลยทำให้เข้าใจและเห็นภาพชัดเจน

คุณนุชนาฏ หวนนากลาง

นักวิจัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย