Tag: นวัตกรรมสีเขียว

ทำไม ‘ไฮโดรเจน’ จึงสำคัญต่อเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ

/

คงไม่ผิดนักหากจะเรียกไฮโดรเจนว่าเชื้อเพลิงมหัศจรรย์ เพราะการเผาไหม้โดยตรงของเชื้อเพลิงไฮโดรเจนนั้นไม่ปล่อยมลภาวะ ยิ่งถ้าอยู่ในรูปแบบของเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) ผลลัพธ์ของกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าก็คือน้ำจืด เทคโนโลยีการผลิตไฮโดรเจนและเซลล์เชื้อเพลิงเกิดขึ้นมาหลายทศวรรษ โดยในอดีตไฮโดรเจนก็เคยได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘พลังงานแห่งอนาคต’ แต่เมื่อไหร่ ‘อนาคต’ ที่ว่าจะมาถึงเสียที?

อุตสาหกรรมแร่หายากจะยั่งยืนได้อย่างไร?

/

ทั่วโลกต่างเห็นเป้าหมายเดียวกันคือความพยายามจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม การบรรลุเป้าหมายนั้นคือการทำทุกวิถีทางเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ แต่การเปลี่ยนผ่านดังกล่าวต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมสำคัญนั่นคือแร่หายาก (rare earth elements) ซึ่งกระบวนการทำเหมือนสร้างผลกระทบทั้งทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมหาศาล จึงนับเป็นโจทย์สำคัญว่าจะทำให้อุตสาหกรรมดังกล่าวยั่งยืนได้อย่างไร

วิทยากรร่วมเสวนา "ธุรกิจยึดจริยธรรมและธุรกิจที่ยั่งยืนในไทย"

ธุรกิจยึดจริยธรรมและธุรกิจที่ยั่งยืน (2) : แนวโน้มในประเทศไทย

/

การดำเนินธุรกิจโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นความเสี่ยงต่อชื่อเสียงของบริษัท หลายประเทศยังมีนโยบายปฏิเสธการรับซื้อสินค้าที่อาจมีวัตถุดิบปนเปื้อน ละเมิดสิทธิมนุษยชน และใช้ทรัพยากรอย่างไม่ยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานอีกด้วย ผลกระทบเชิงลบดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจในประเทศไทยไม่ควรละเลย และควรมีการร่วมกันคิดหาทางออกที่ยั่งยืนต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง

ธุรกิจยึดจริยธรรมและธุรกิจที่ยั่งยืน (1) : ภาพรวมจากบริบทโลก

/

ปัจจุบัน โลกเผชิญความท้าทายและภัยคุกคามมากมายเกินกว่าที่ภาครัฐเพียงลำพังจะสามารถรับมือได้ ปัญหาเหล่านี้ภาคธุรกิจย่อมมีส่วนรับผิดชอบในฐานะผู้ก่อปัญหา แต่ในทางกลับกัน ภาคธุรกิจก็สามารถเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ ผ่านการร่วมมือเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับมหภาค

ความยั่งยืน (ฉบับย่นย่อ) – ว่าด้วยทุนนิยม สังคม สิ่งแวดล้อม และธุรกิจสมัยใหม่

/

ในแต่ละวัน คุณได้เห็นหรือได้ยินคำว่า “ความยั่งยืน” กี่ครั้ง แล้วเราเข้าใจความหมายของ “ความยั่งยืน” ถูกต้องแล้วหรือยัง ป่าสาละชวนมาคุยกับสองผู้ก่อตั้งบริษัทป่าสาละ สฤณี อาชวานันทกุล และภัทราพร แย้มละออ เพื่อคลายข้อสงสัยในประเด็นด้านความยั่งยืน

กรณีศึกษาถอดบทเรียนธุรกิจเขียว…ไทย#8: อำพลฟูดส์

/

อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง ใส่นวัตกรรมเขียว แปลงขยะเป็นความยั่งยืน – บริษัทใช้นวัตกรรมเขียวต่างๆ มากมายสามารถช่วยเปลี่ยนของเสียที่บริษัทเคยมองว่าเป็นขยะให้กลายเป็นความยั่งยืนได้ ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหากับชุมชนรอบๆ โรงงานแล้ว และยังช่วยเพิ่มยอดขายและกำไรให้กับบริษัทได้อีกด้วย จนกลายเป็นวิถีการทำธุรกิจที่ยั่งยืนสไตล์อำพลฟูดส์ที่น่าศึกษา

กรณีศึกษาถอดบทเรียนธุรกิจเขียว…ไทย#7: ปัญญ์ปุริ

/

ปัญญ์ปุริ ก้าวข้ามจุดขายความเป็นธรรมชาติ สู่ออร์แกนิค – ปัญญ์ปุริ เลือกชูจุดขายการดูแลร่างกายและจิตใจตามปรัชญาตะวันออก โดยมีส่วนผสมจากธรรมชาติเป็นจุดขายแรก ก่อนที่จะขยับขึ้นไปเป็นส่วนผสมจากพืชพรรณที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์หรือออร์แกนิค ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้แบรนด์แตกต่างอย่างโดดเด่นทั้งในตลาดไทยและตลาดโลก

กรณีศึกษาถอดบทเรียนธุรกิจเขียว…ไทย#6: เลมอนฟาร์ม

/

เลมอนฟาร์ม วิถีเกษตรอินทรีย์ เพื่อสุขภาพและความยั่งยืน – ธุรกิจค้าปลีกที่เชื่อมโยงเกษตรกรและผู้บริโภคที่ใส่ใจกับเรื่องความยั่งยืนในทุกมิติเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีวิถีเกษตรอินทรีย์เป็นแกนนำด้านการตลาด

กรณีศึกษาถอดบทเรียนธุรกิจเขียว…ไทย#5: เอสซีจี ลำปาง

/

ปูนลำปาง Semi-open cut mining ก้าวไกลด้วยนวัตกรรมสีเขียวต้นแบบ – ผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายแรกและรายใหญ่ของประเทศไทยผู้คิดหานวัตกรรมการทำเหมืองรูปแบบใหม่เพื่อมุ่งสู่การทำธุรกิจอย่างยั่งยืน และเกือบ 20 ปีแล้วที่การทำเหมืองแบบ semi-open cut mining method ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไม่ใช่ขั้วตรงข้ามกับการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนแต่อย่างใด

สไลด์ประกอบการเสวนา “ถอดบทเรียน ธุรกิจเขียว…ไทย ปีที่ 1″

/

สไลด์จากงานเสวนา “ถอดบทเรียน ธุรกิจเขียว…ไทย ปีที่ 1″ ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2557 จากกรณีศึกษาบริษัทไทย 4 บริษัท 4 ธุรกิจ ที่ใช้ความ “เขียว” ทั้งในมิติ “นวัตกรรม” (innovation) และ “ผลิตภาพ” (productivity) (แดรี่โฮม แปลนทอยส์ ชีวาศรมและมิตรผล) เป็นหัวใจในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงสถานการณ์เชิงนโยบาย

หน้าที่ 1 จาก 212