Tag: เบทาโกร

โครงการวิจัย “การประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในไทย กรณีศึกษา จ.น่าน และ จ.เชียงใหม่”

/

ผู้วิจัยพยายามประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นระหว่างปี 2557-2560 ของ “โครงการเปลี่ยนผ่านการปลูกข้าวโพด (post-maize transition projects)” ซึ่งได้แก่โครงการต่างๆ ที่มุ่งจะช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดลดและเลิกการปลูกพืชไร่ชนิดนี้ โดยเน้นที่โครงการที่มีการเข้าร่วมอย่างมีนัยสำคัญของบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์รายใหญ่ พบว่า การเผาตอซังข้าวโพดน่าจะลดลงมากในทุกพื้นที่โครงการ พื้นที่ที่มีป่าปกคลุมไม่ได้เพิ่มขึ้น ราคาข้าวโพดที่ตกต่ำอย่างมีนัยสำคัญช่วยสร้างแรงจูงใจให้ชาวบ้านเลิกปลูกข้าวโพด แต่ภาระหนี้สินของเกษตรกรยังคงมีอยู่อยู่ในระดับสูง เกษตรกรในโครงการเหล่านี้มีแหล่งรายได้ทางเลือกทีมีแนวโน้มดี แต่จะมีผลที่เป็นรูปธรรมต่อการดำรงชีวิตอย่างไรนั้นยังต้องรอดูต่อไป ดังนั้นเกษตรกรจำนวนมากจึงยังคงต้องพึ่งข้าวโพดเป็นรายได้หลัก และสุดท้าย “หลักประกันสิทธิในที่ดิน” และ “ตลาด/ผู้ซื้อที่พร้อมรับซื้อ” มีความสำคัญสำหรับความมั่นคงในการดำรงชีวิตของเกษตรกร

วิทยากรร่วมเสวนา "ธุรกิจยึดจริยธรรมและธุรกิจที่ยั่งยืนในไทย"

ธุรกิจยึดจริยธรรมและธุรกิจที่ยั่งยืน (2) : แนวโน้มในประเทศไทย

/

การดำเนินธุรกิจโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นความเสี่ยงต่อชื่อเสียงของบริษัท หลายประเทศยังมีนโยบายปฏิเสธการรับซื้อสินค้าที่อาจมีวัตถุดิบปนเปื้อน ละเมิดสิทธิมนุษยชน และใช้ทรัพยากรอย่างไม่ยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานอีกด้วย ผลกระทบเชิงลบดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจในประเทศไทยไม่ควรละเลย และควรมีการร่วมกันคิดหาทางออกที่ยั่งยืนต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง

ธุรกิจยึดจริยธรรมและธุรกิจที่ยั่งยืน (1) : ภาพรวมจากบริบทโลก

/

ปัจจุบัน โลกเผชิญความท้าทายและภัยคุกคามมากมายเกินกว่าที่ภาครัฐเพียงลำพังจะสามารถรับมือได้ ปัญหาเหล่านี้ภาคธุรกิจย่อมมีส่วนรับผิดชอบในฐานะผู้ก่อปัญหา แต่ในทางกลับกัน ภาคธุรกิจก็สามารถเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ ผ่านการร่วมมือเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับมหภาค

ความยั่งยืน (ฉบับย่นย่อ) – ว่าด้วยทุนนิยม สังคม สิ่งแวดล้อม และธุรกิจสมัยใหม่

/

ในแต่ละวัน คุณได้เห็นหรือได้ยินคำว่า “ความยั่งยืน” กี่ครั้ง แล้วเราเข้าใจความหมายของ “ความยั่งยืน” ถูกต้องแล้วหรือยัง ป่าสาละชวนมาคุยกับสองผู้ก่อตั้งบริษัทป่าสาละ สฤณี อาชวานันทกุล และภัทราพร แย้มละออ เพื่อคลายข้อสงสัยในประเด็นด้านความยั่งยืน

สไลด์ผลการวิจัย:“ห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมปลาป่น จ.สงขลา” (ภาษาไทย)

/

สไลด์สรุปผลโครงการวิจัย “การจัดทำแผนที่ห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมการผลิตปลาป่นในจังหวัดสงขลาเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงมาตรฐานความยั่งยืนในการผลิต”เสนอต่ออ็อกแฟม ประเทศไทย

สรุปผลการวิจัยและ Executive Summary: “ห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมปลาป่น จ.สงขลา” (ภาษาไทย)

/

สรุปผลโครงการวิจัย “การจัดทำแผนที่ห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมการผลิตปลาป่นในจังหวัดสงขลาเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงมาตรฐานความยั่งยืนในการผลิต” เอกสารความยาว 25 หน้า

สไลด์นำเสนอผลการวิจัย: “ห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จ.น่าน”

/

งานวิจัยเพื่อจัดทำแผนที่และวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกิจกรรมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่าน รวมถึงค้นหาศักยภาพในการจัดการระบบห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

สภาพภูเขาหัวโล้น จ.น่าน

โครงการวิจัย “ห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จ.น่าน”

/

โครงการวิจัย “Maize Supply Chain Management Analysis to Support Sustainable Watershed Management in Nan Province” (การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อสนับสนุนการจัดการลุ่มน้ำอย่างยั่งยืนใน จ.น่าน) วัตถุประสงค์เพื่อจัดทำข้อมูลห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่าน และวิเคราะห์รูปแบบการเพาะปลูกของเกษตรกร เพื่อประกอบการหารือแนวทางการเพาะปลูกและการจัดการลุ่มน้ำอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

pier

โครงการวิจัย “ห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมปลาป่น จ.สงขลา”

/

โครงการวิจัย “Mapping Shrimp Feed Supply Chain in Songkhla Province to Facilitate Feed Dialogues” (การจัดทำแผนที่ห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมปลาป่นในจังหวัดสงขลา เพื่อสนับสนุนการเสวนาเรื่องอาหารสัตว์ที่ยั่งยืน) มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำข้อมูลห่วงโซ่อุปทานและศึกษาผลกระทบของอุตสาหกรรมปลาป่นต่อความเป็นอยู่ของชุมชนประมงพื้นบ้านในจังหวัดสงขลา ตลอดจนสื่อสารให้สาธารณชนทั่วไปตระหนักและตื่นตัวในประเด็นดังกล่าวมากขึ้น

หน้าที่ 1 จาก 11