Tag: climate change

ทำไม ‘ไฮโดรเจน’ จึงสำคัญต่อเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ

/

คงไม่ผิดนักหากจะเรียกไฮโดรเจนว่าเชื้อเพลิงมหัศจรรย์ เพราะการเผาไหม้โดยตรงของเชื้อเพลิงไฮโดรเจนนั้นไม่ปล่อยมลภาวะ ยิ่งถ้าอยู่ในรูปแบบของเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) ผลลัพธ์ของกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าก็คือน้ำจืด เทคโนโลยีการผลิตไฮโดรเจนและเซลล์เชื้อเพลิงเกิดขึ้นมาหลายทศวรรษ โดยในอดีตไฮโดรเจนก็เคยได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘พลังงานแห่งอนาคต’ แต่เมื่อไหร่ ‘อนาคต’ ที่ว่าจะมาถึงเสียที?

อุตสาหกรรมแร่หายากจะยั่งยืนได้อย่างไร?

/

ทั่วโลกต่างเห็นเป้าหมายเดียวกันคือความพยายามจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม การบรรลุเป้าหมายนั้นคือการทำทุกวิถีทางเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ แต่การเปลี่ยนผ่านดังกล่าวต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมสำคัญนั่นคือแร่หายาก (rare earth elements) ซึ่งกระบวนการทำเหมือนสร้างผลกระทบทั้งทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมหาศาล จึงนับเป็นโจทย์สำคัญว่าจะทำให้อุตสาหกรรมดังกล่าวยั่งยืนได้อย่างไร

วิกฤติโลกร้อนถูกมองข้าม เพราะสารพัดปัญหาเร่งด่วนในปัจจุบัน

/

ปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อมอาจซ้อนทับจนนำไปสู่การแย่งชิงทรัพยากรระหว่างประเทศในอนาคตไม่ว่าจะเป็นอาหาร น้ำสะอาด เชื้อเพลิง และแร่หายาก ที่ความต้องการมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามจำนวนประชากรโลก แต่ในขณะเดียวกัน ทรัพยากรเหล่านั้นก็มีอยู่อย่างจำกัดและมีแนวโน้มผลิตได้น้อยลงเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองและวิกฤติภูมิอากาศ ช่องว่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานอาจนำไปสู่ ‘วิกฤติซ้อนวิกฤติ’ ที่ยากจะแก้ไข

‘กองทุนชดเชยความสูญเสียและเสียหาย’ ความก้าวหน้าครั้งใหญ่จากเวที COP27

/

แม้จะมีความท้าทายและความไม่แน่นอนมากมาย แต่ความสำเร็จในการจัดตั้งกองทุนชดเชยความสูญเสียและเสียหายครั้งนี้ก็นับเป็นก้าวสำคัญ เนื่องจากคนจำนวนไม่น้อยต่างมองว่านี่คือ 1 ใน 3 เสาหลักสำคัญในการรับมือภาวะโลกร้อนซึ่งประกอบด้วย 1) การลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก 2) การปรับตัวรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ 3) การชดเชยความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เงินเฟ้อกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

/

หลายคนคงทราบดีว่าสาเหตุสำคัญของภาวะเงินเฟ้อสูงในปัจจุบันคือสงครามรัสเซีย-ยูเครน สองประเทศเป็นผู้เล่นสำคัญในตลาดน้ำมัน ปุ๋ยเคมี ธัญพืช และสารพัดสินค้าโภคภัณฑ์สำคัญของโลก แต่ทราบไหมครับว่าสองสามปีก่อนหน้านี้ราคาสินค้ากลุ่มอาหาร อาทิ ข้าวสาลี แอปเปิล กาแฟ และช็อกโกแลต ต่างก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยมีสาเหตุสำคัญจากภัยแล้งในทวีปแอฟริกา เอเชีย และอเมริกา ส่งผลให้พืชผลเสียหายจนปริมาณสินค้าที่วางขายในตลาดโลกลดฮวบ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ถูกมองข้าม แต่อาจทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้นในระยะยาว

Sound of “changing nature”: Climate change is singing.

/

การส่งเสียงระหว่างกันของสัตว์ตั้งอยู่บนสมมติฐานเรื่องการใช้ช่องเสียงเฉพาะ (the acoustic niche hypothesis) หากระบบนิเวศที่โตเต็มที่หรือมีความสมบูรณ์มาก จะใช้ช่องเสียงแยกกันอย่างเป็นระเบียบชัดเจน ในขณะที่ระบบนิเวศที่มีอายุน้อยหรือถูกรบกวนจากภายนอกมาก จะแสดงความไม่เป็นระเบียบของเสียงมากขึ้น โดยภูมิทัศน์เสียงที่เป็นระเบียบจะสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพและความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศ

คอนเสิร์ตรักษ์โลก: แนวทางการจัดคอนเสิร์ตคาร์บอนต่ำ

/
ในเดือนมิถุนายน 2564 Madison Square Garden สถานที่จัดแสดงงานชื่อดังของสหรัฐฯ ได้จัดคอนเสิร์ตของวง Foo Fighters แบบเต็มความจุเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ขณะที่ทางฝั่งเกาะอังกฤษก็มีการจัดเทศกาลดนตรีสุดหนักหน่วง Download Festival...

วิกฤติโควิด-19 ทำร้ายคนจน วิกฤติภูมิอากาศก็เช่นกัน

/

สิ่งที่ทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่เดินหน้าได้ลำบากคือการที่คนหรือประเทศร่ำรวยซึ่งเป็นสาเหตุของมลภาวะและวิกฤติภูมิอากาศกลับเป็นกลุ่มคนท้ายๆ ที่จะรู้สึกได้ถึงผลกระทบ ขณะที่ประชาชนกลุ่มแรกที่จะเผชิญหน้าวิกฤติคือเหล่าคนจนซึ่งใช้ทรัพยากรในชีวิตเพียงน้อยนิดแต่กลับต้องแบกรับต้นทุนดังกล่าว

“วิตกกังวล โศกเศร้า และสูญเสีย” อาการป่วยใจที่มาพร้อมความป่วยที่รุนแรงขึ้นของโลกและสิ่งแวดล้อม

/

ความเสื่อมโทรมลงของสิ่งแวดล้อมและผลพวงของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) กำลังส่งผลกระทบต่อชีวิตของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ผลกระทบด้านหนึ่งที่อาจจะยังมีการพูดถึงไม่มากนัก คือ ด้านสุขภาพจิตที่ภาวะป่วยทางใจใหม่ ๆ อย่างความเครียดจากสิ่งแวดล้อม (Environmental Distress) ความเครียดเชิงนิเวศ (Ecological Stress) ความเครียดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Distress) กำลังได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ถึงเวลาภาคธุรกิจเปิดเผยความเสี่ยงจากวิกฤติภูมิอากาศ

/

คณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกาได้ตั้งคณะทำงานพิเศษเพื่อประเมินด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาลของบริษัทมหาชนโดยมีเป้าหมายหนึ่งคือการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงเกี่ยวกับวิกฤติภูมิอากาศภาคบังคับของเหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่ อำนวยความสะดวกแก่ผู้ถือหุ้นที่ใส่ใจความยั่งยืน สหรัฐอเมริกาไม่ได้ผลักดันประเด็นนี้อย่างโดดเดี่ยว เพราะเหล่าผู้กำกับดูแลทั้งในสหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ รวมถึงตลาดหลักทรัพย์ในฮ่องกง ลอนดอน เกาหลีใต้ และสหภาพยุโรป ต่างก็มีทีท่าว่าจะออกกฎบังคับให้เปิดเผยความเสี่ยงด้านวิกฤติภูมิอากาศเช่นกัน

หน้าที่ 1 จาก 212