Tag: SDG

“เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” กับการระบุประเด็น(ที่ควรจะ)เร่งด่วนสำหรับไทย

/

แต่ละประเทศย่อมมีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย มาตรการ และรายละเอียดวิธีปฏิบัติตามกรอบ SDGs 17 ข้อ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และบริบทในท้องถิ่นของตัวเอง แต่สุดท้าย การเลือกว่าเป้าประสงค์ใดควรเป็น “เป้าประสงค์เร่งด่วน” ในการพัฒนาประเทศ ก็ควรจะสอดคล้องกับระดับ “ความรุนแรงเร่งด่วน” ของประเด็นต่างๆ อย่างแท้จริง

การแถลงข่าว ภายหลังศาลปกครองสูงสุดไม่รับฟ้องเพิกถอนคำสั่งหัวหน้า คสช. 4/2559 ที่มาภาพ: http://enlawfoundation.org/newweb/?p=3027

มาตรา 44 กับ “การพัฒนาที่ยั่งยืน”

/

กฎหมายผังเมืองนับเป็นเครื่องมือที่ขาดไม่ได้สำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน ช่วยประสานประโยชน์สาธารณะ ประโยชน์เอกชน และประโยชน์ชุมชนเข้าด้วยกัน ในการหาฉันทามติเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ แต่คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 4/2559 กลับอ้างเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้นว่า จำเป็นต้องออกคำสั่งยกเว้นการใช้ผังเมืองรวม เพราะผังเมืองรวมเป็น “ข้อขัดข้องหรืออุปสรรค” ในการแก้ปัญหาความมั่นคงในการจัดหาพลังงานและปัญหาขยะมูลฝอย และ “พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ [ให้]พร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”

Rachel Notley ผู้ว่าการมลรัฐอัลเบอร์ตา ที่มาภาพ: http://www.nationalobserver.com/2016/01/07/news/path-albertas-climate-deal

“เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” ในฐานะ “จริยธรรมสากล” และบทเรียนจากแคนาดา

/

ความคิดใหญ่ๆ อย่าง SDGs นั้นฟังดูดี แต่ “รูปธรรม” ในทางปฏิบัตินั้นยากเย็นไม่น้อย โดยเฉพาะการจะต้องนำมาปรับเปลี่ยนนโยบายการพัฒนาระดับชาติในเรื่องที่มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ต่ำกว่าหลายแสนล้านบาทต่อปี การเปลี่ยนแปลงชนิด “180 องศา” ของมลรัฐอัลเบอร์ตา (Alberta) ประเทศแคนาดา เจ้าของขุมทรัพย์ทรายน้ำมัน (oil sands) จึงเป็นบทเรียนสำคัญที่ทั่วโลกควรศึกษา รวมทั้งไทยด้วย

มูลค่าตลาดของบริษัทใหญ่ เทียบกับมูลค่าตลาดหุ้นทั้งตลาดของบางประเทศ ที่มา: http://www.economist.com/news/finance-and-economics/21594476-scarce

สามปัจจัยกำหนดจุดพลิกผันทางวัฒนธรรม (cultural shift) สู่ธุรกิจที่ยั่งยืน

/

ผู้เขียนเห็นว่า จะต้องมีสามปัจจัยต่อไปนี้ในระดับ “พัฒนาการ” ที่ก้าวหน้ามากพอ จึงจะเกิด “cultural shift” หรือ “การเปลี่ยนผ่านเชิงวัฒนธรรม” สู่ “ธุรกิจที่ยั่งยืน” ในสังคมไทยได้ : ธรรมาภิบาลแบบประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง ความโปร่งใสขั้นสุดขั้วของภาคธุรกิจ และการปรับค่านิยมของสังคมให้สอดคล้องกับจริยธรรมสากล

หน้าที่ 1 จาก 11