Tag: social enterprise

akha_cover

กรณีศึกษา#5 บริษัท กาแฟอาข่า อ่ามา จำกัด – การบริหารทรัพยากรบุคคลของเอสเอ็มอีในประเทศไทย ที่มีวิธีคิด นโยบายและวิถีปฏิบัติด้านความยั่งยืน

/

อาข่า อ่ามา ธุรกิจกาแฟครบวงจรที่ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวเขาในภาคเหนือ ถือเป็นองค์กรของคนรุ่นใหม่ที่แท้จริงด้วยอายุเฉลี่ยของพนักงานเพียง 25 ปี และบริษัทมีเป้าหมายในการสร้าง “นักเปลี่ยนแปลง” คือ เลือกผู้ที่สมัครงานที่สนใจนำความรู้จากธุรกิจกาแฟกลับไปพัฒนาชุมชนแม้จะไม่มีประสบการณ์ ก่อนคนที่มีประสบการณ์พร้อมแล้ว และยินดีหากพนักงานจะลาออกเพื่อไปทำธุรกิจที่เกี่ยวกับกาแฟเพื่อสร้างคุณค่าทางสังคม

suan_cover

กรณีศึกษา#4 บริษัท สวนเงินมีมา จำกัด – การบริหารทรัพยากรบุคคลของเอสเอ็มอีในประเทศไทย ที่มีวิธีคิด นโยบายและวิถีปฏิบัติด้านความยั่งยืน

/

สวนเงินมีมาเกิดจากการรวมตัวกันของบุคลากรและองค์กรที่ทำงานด้านสังคม และนักธุรกิจที่มีความสนใจร่วมกันในด้านปัญหาสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาศักยภาพภายในของมนุษย์ และเป็นที่รวมตัวของพนักงานที่มีความสนใจและเชี่ยวชาญในประเด็นสังคมหรือสิ่งแวดล้อมตามหัวข้องานที่ได้รับมอบหมาย ที่เชื่อมโยงไปเป็นวิถีการใช้ชีวิตประจำ เช่น อาหารปลอดภัย และเกษตรยั่งยืน

la_cover

กรณีศึกษา#2 บริษัท โลเคิล อไลค์ จำกัด – การบริหารทรัพยากรบุคคลของเอสเอ็มอีในประเทศไทย ที่มีวิธีคิด นโยบายและวิถีปฏิบัติด้านความยั่งยืน

/

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางสังคมในด้านการพัฒนาชุมชนผ่านการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน โลเคิล อไลค์เสาะหาว่าที่พนักงานที่มี “ใจ” ทางสังคมเหมือนกัน และเพิ่มแนวคิดด้านความยั่งยืนผ่านกระบวนการทำงานจริงและการอบรมเรียนรู้ รวมถึงเน้นการพัฒนาพนักงานทั้งในสายอาชีพและเป้าหมายส่วนตัว และเน้นการตั้งเส้นทางอาชีพ (career path) ที่ชัดเจนสำหรับทุกคนในองค์กรที่ทั้งหมดเป็นคนรุ่นใหม่ และสนใจเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างคุณค่าทางสังคม ไปพร้อมกับการได้ค่าตอบแทนที่ “แข่งขันได้” ในตลาดแรงงาน

สไลด์นำเสนอผลการศึกษา “โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม”

/

สไลด์ประกอบการแถลงผลการศึกษาโครงการวิจัย “โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสำหรับกิจการเพื่อสังคม” โดย สฤณี อาชวานันทกุล หัวหน้าโครงการ บริษัท ป่าสาละ จำกัด, วันที่ 19 ธันวาคม 2560 โรงแรม Double Tree

แอบดูธุรกิจยั่งยืนรางวัล the guardian

/

ทุกๆ ปี หนังสือพิมพ์ the guardian จะมีการจัดอันดับและมอบรางวัลธุรกิจที่ยั่งยืน โดยมีหลากหลายด้าน อาทิ การจัดการขยะ การจัดการน้ำ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การสร้างผลลัพธ์ทางสังคม และสตาร์ตอัพแห่งปี โดยในบทความนี้ จะขอหยิบยกตัวอย่างธุรกิจที่ ‘ยั่งยืน’ ในประเด็นที่น่าสนใจ และอาจเป็นแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนแปลงเส้นทางสู่ความยั่งยืน

สไลด์นำเสนอ “ไขข้อข้องใจกิจการเพื่อสังคม”

/
  ปัจจุบันคำว่ากิจการเพื่อสังคมได้รับความสนใจจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม จนใครๆ ก็พยายามติดป้ายว่าตัวเองเป็น ‘กิจการเพื่อสังคม’ แต่หัวใจของกิจการเพื่อสังคมคืออะไร แตกต่างจาก CSR หรือไม่ และกิจการเพื่อสังคมจะยั่งยืนได้อย่างไร...

ทำความเข้าใจกับ 8 ประเด็น “สับสน” เรื่องกิจการเพื่อสังคม

/

ปัจจุบันกิจการเพื่อสังคม (social enterprise) กำลังได้รับความสนใจอย่างยิ่ง ทั้งจากผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ภาครัฐที่กำลังผลักดันกฎหมายและมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนกิจการเพื่อสังคม อย่างไรก็ตามความสนใจที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ก็มาพร้อมกับความสับสนในความหมายและคุณสมบัติของกิจการเพื่อสังคม บทความนี้จะพาเราไปสำรวจเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ที่ผู้คนมักจะสับสนของกิจการเพื่อสังคม 8 ประเด็น

B Talk ครั้งที่ 6 Social Enterprise: FAQs

/
ไขข้อข้องใจกิจการเพื่อสังคม ปัจจุบันคำว่ากิจการเพื่อสังคมได้รับความสนใจจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม จนใครๆ ก็พยายามติดป้ายว่าตัวเองเป็น ‘กิจการเพื่อสังคม’ แต่หัวใจของกิจการเพื่อสังคมคืออะไร แตกต่างจาก CSR หรือไม่...
วิทยากรร่วมเสวนา "ธุรกิจยึดจริยธรรมและธุรกิจที่ยั่งยืนในไทย"

ธุรกิจยึดจริยธรรมและธุรกิจที่ยั่งยืน (2) : แนวโน้มในประเทศไทย

/

การดำเนินธุรกิจโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นความเสี่ยงต่อชื่อเสียงของบริษัท หลายประเทศยังมีนโยบายปฏิเสธการรับซื้อสินค้าที่อาจมีวัตถุดิบปนเปื้อน ละเมิดสิทธิมนุษยชน และใช้ทรัพยากรอย่างไม่ยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานอีกด้วย ผลกระทบเชิงลบดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจในประเทศไทยไม่ควรละเลย และควรมีการร่วมกันคิดหาทางออกที่ยั่งยืนต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง

ธุรกิจยึดจริยธรรมและธุรกิจที่ยั่งยืน (1) : ภาพรวมจากบริบทโลก

/

ปัจจุบัน โลกเผชิญความท้าทายและภัยคุกคามมากมายเกินกว่าที่ภาครัฐเพียงลำพังจะสามารถรับมือได้ ปัญหาเหล่านี้ภาคธุรกิจย่อมมีส่วนรับผิดชอบในฐานะผู้ก่อปัญหา แต่ในทางกลับกัน ภาคธุรกิจก็สามารถเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ ผ่านการร่วมมือเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับมหภาค

หน้าที่ 1 จาก 212