Tag: stakeholder engagement

วิทยากรร่วมเสวนา "ธุรกิจยึดจริยธรรมและธุรกิจที่ยั่งยืนในไทย"

ธุรกิจยึดจริยธรรมและธุรกิจที่ยั่งยืน (2) : แนวโน้มในประเทศไทย

/

การดำเนินธุรกิจโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นความเสี่ยงต่อชื่อเสียงของบริษัท หลายประเทศยังมีนโยบายปฏิเสธการรับซื้อสินค้าที่อาจมีวัตถุดิบปนเปื้อน ละเมิดสิทธิมนุษยชน และใช้ทรัพยากรอย่างไม่ยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานอีกด้วย ผลกระทบเชิงลบดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจในประเทศไทยไม่ควรละเลย และควรมีการร่วมกันคิดหาทางออกที่ยั่งยืนต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง

ความยั่งยืน (ฉบับย่นย่อ) – ว่าด้วยทุนนิยม สังคม สิ่งแวดล้อม และธุรกิจสมัยใหม่

/

ในแต่ละวัน คุณได้เห็นหรือได้ยินคำว่า “ความยั่งยืน” กี่ครั้ง แล้วเราเข้าใจความหมายของ “ความยั่งยืน” ถูกต้องแล้วหรือยัง ป่าสาละชวนมาคุยกับสองผู้ก่อตั้งบริษัทป่าสาละ สฤณี อาชวานันทกุล และภัทราพร แย้มละออ เพื่อคลายข้อสงสัยในประเด็นด้านความยั่งยืน

ผลตอบแทนของ “คำที่สอง”

/

ปัญหาขยะอาหารที่ไม่ได้มาตรฐานเป็นความจริงที่น่าขมขื่น เพราะประเทศที่ร่ำรวยใช้ชีวิตราวกับไม่มีผู้คนอดอยากบนโลก องค์กรไม่แสวงหากำไร Secondbite จึงถือกำเนิดขึ้น โดยในแต่ละปี Secondbite ได้ส่งอาหารสดใหม่และมีสารอาหารครบถ้วนกว่า 7 ล้านกิโลกรัม ไปบรรเทาความหิวโหยของประชาชนผู้ขาดแคลนทั่วออสเตรเลีย

วิกฤตสีฟ้า (1) : ว่าด้วย น้ำ – อาหาร – พลังงาน

/

หากได้เคยเห็นภาพดวงดาวสีฟ้าท่ามกลางอวกาศสีดำมืด คงจะเข้าใจได้ไม่ยากว่าพื้นผิวโลกกว่าร้อยละ 70 ปกคลุมไปด้วยน้ำ ด้วยปริมาณที่มีมากมายมหาศาล หลายคนคงเคยร่ำเรียนว่าน้ำเป็นสินค้าไร้ราคา (Free Goods) ที่สามารถใช้ได้อย่างไม่จำกัด แต่แนวคิดดังกล่าวอาจจะกลายเป็นเรื่องล้าหลังไปแล้ว เพราะในปัจจุบันการขาดแคลนน้ำจนถึงระดับวิกฤตเป็นความเสี่ยงอันดับต้นๆ ที่ทั่วโลกเป็นกังวล

การเปลี่ยนแปลงสู่วิถีการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน (1) : ธุรกิจผลิตและแปรรูปอาหารทะเล

/

การเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการอาหารทะเลเพียงไม่กี่รายในโลกที่มีธุรกิจครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ อีกทั้งยังยืนหยัดและก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตปลาทูน่าบรรจุกระป๋องที่ใหญ่ที่สุดในโลก บริษัท ไทยยูเนียน โฟรเซ่น โปรดักท์ จำกัด หรือ TUF ไม่เคยหยุดพัฒนาและให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทานตลอด 30 กว่าปีที่ดำเนินการมา ทำไมและทำอย่างไร ดร.วิทย์ สุนทรนันท์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาที่ยั่งยืน มาให้คำตอบ

Rubicon Bakery อบโอกาสแก่คนชายขอบ

/

ไม่ใช่อดีตนักโทษทุกคนที่ต้องการเปลี่ยนชีวิตตัวเอง แต่หลายคนก็อยากจะเริ่มชีวิตใหม่ โดยต้องการเพียงโอกาสที่เขาจะได้มีอาชีพสุจริต และหาเลี้ยงชีพเฉกเช่นปุถุชนทั่วไป แต่การหาอาชีพของเหล่าคนชายขอบไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะในหลายบริษัทที่ยังเปิดใจไม่กว้างเพียงพอ

มี B = มีดี การันตีธุรกิจเพื่อสังคม

/

การทำธุรกิจเพื่อสังคมที่ต้องตอบโจทย์ด้านกำไรในฐานะ ’ธุรกิจ’ และตอบโจทย์ด้านพันธกิจเพื่อสร้างผลประโยชน์ให้กับสังคมหรือสิ่งแวดล้อม นับว่าไม่ง่าย แต่สิ่งที่ยากกว่าคือจะทำอย่างไรให้ผู้บริโภคยอมรับเชื่อถือว่าสิ่งที่บริษัททำหรือโฆษณาต่อสาธารณชนนั้นคือความจริง ไม่ใช่แค่สร้างภาพ!

(อาหาร)ปฏิวัติ ในสหรัฐอเมริกา

/

เมื่อหลายวิธีการแก้ปัญหา ‘เด็กอ้วน’ ในสหรัฐอเมริกายังไม่ประสบผล คุณแม่สองคนจึงตัดสินใจทำการ ‘ปฏิวัติอาหาร’ ในนามบริษัท Revolutions Food ที่จะเสิร์ฟอาหารสดใหม่และคุณภาพสูงให้กับเด็กๆในรั้วโรงเรียน ภายใต้ความท้าทายด้านต้นทุนที่จำกัด

กู้อย่างกรีน สินเชื่อเพื่อโลกสีเขียว

/

เราต่างยึดติดกับภาพลบของเงินกู้และเงินทุนเพื่อการพัฒนา ป้ายสีเทาให้วงการธุรกิจพลางกล่าวโทษว่าที่โลกเข้าใกล้ภาวะล่มสลายก็เพราะความเฟื่องฟูของระบอบทุนนิยม

ยากจะปฏิเสธว่าระบอบทุนนิยมไม่ได้มีส่วนเร่งรัดการทำลายล้าง แต่ในทางตรงกันข้าม ระบอบดังกล่าวก็อาจช่วยส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน

มายาคติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประเด็นท้าทายธุรกิจในทศวรรษต่อไป

/

ปัจจุบันเราได้เห็นการอบรมสัมมนา แนะแนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมาก ที่เน้นย้ำถึงประโยชน์ด้านการสร้าง License to Operate ซึ่งหมายถึงการที่สังคมและชุมชนในพื้นที่ยอมรับที่จะให้บริษัทเข้ามาประกอบธุรกิจโดยไม่คัดค้าน นอกจากนี้ยังรวมถึงการลดความเสี่ยง การสร้างภาพลักษณ์ชื่อเสียงที่ดี การสร้างแบรนด์ ไปจนถึงการสร้าง “คุณค่า” จากการนำประเด็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ให้กับองค์กร แต่ความเป็นจริงที่ปรากฏในสังคมกลับทำให้หลายฝ่ายตั้งคำถามถึงการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แท้จริงของบริษัทต่างๆ

หน้าที่ 1 จาก 11