Basic Guide to Social Impact Assessment (SIA)

แนวทางประเมินผลลัพธ์ทางสังคม

การประเมินผลกำไรขาดทุน (Profit and Loss) สำคัญต่อธุรกิจกระแสหลักฉันใด การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact Assessment: SIA) ก็สำคัญต่อกิจการเพื่อสังคมฉันนั้น ถ้าหากไม่มีการติดตามวัดผลอย่างต่อเนื่อง คุณก็ไม่อาจรู้ได้อย่างชัดเจนว่างานที่ทำไปนั้นบรรลุพันธกิจมากน้อยเพียงใด ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ สร้างผลเชิงลบหรือบวกอะไร ที่คาดไม่ถึง และควรปรับปรุงแก้ไขตรงไหนอย่างไรบ้างเพื่อสร้างประโยชน์มากกว่าเดิมในอนาคต ตลอดจนลดผลกระทบเชิงลบหรือผลข้างเคียงเชิงลบ ที่ไม่ตั้งใจจะก่อให้เกิดขึ้น

องค์กรทุกรูปแบบสามารถนำวิธีประเมินผลลัพธ์ทางสังคมไปใช้ในการคาดการณ์หรือประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact) ของโครงการ ผลิตภัณฑ์ หรือองค์กร เพื่อวางแผน ปรับปรุงการปฏิบัติงาน สร้างกลไกการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และจัดการผลลัพธ์ที่ไม่ได้คาดหวังซึ่งเกิดขึ้นจากโครงการ
คอร์สนี้ครอบคลุมแนวคิด ระเบียบวิธี และการปฏิบัติที่จำเป็นต่อการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม ตั้งแต่การระบุตัวผู้มีส่วนได้เสีย วิธีเขียนทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change) วิธีระบุห่วงโซ่ผลลัพธ์ (Impact Value Chain) และกรณีฐาน (Base Case Scenario) รวมถึงตัวอย่างการรายงานผลลัพธ์ทางสังคมจากโครงการและกิจการจริง

เรียนคอร์สนี้แล้วคุณจะ
– เข้าใจความหมายของผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact)
– สามารถประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact Assessment: SIA) ได้
– เข้าใจการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมในทุกขั้นตอน
– จำแนกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้
– เขียนประโยคทฤษฏีการเปลี่ยนแปลง (Theory of change) ได้
– เข้าใจวิธีเขียนห่วงโซ่ผลลัพธ์ (Impact Value Chain)
– เลือกตัวชี้วัด (Social Impact Indicator) ที่เหมาะสมกับการประเมินได้
– เข้าใจหลักการกรณีฐาน (Base Case Scenario)
– รู้จักตัวอย่างการรายงานผลลัพธ์ทางสังคมจากองค์กรจริง

คอร์สนี้เหมาะสำหรับ
– ผู้ที่ทำโครงการหรือกิจการที่ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลง แก้ปัญหา หรือสร้างคุณค่าให้สังคมและ/หรือสิ่งแวดล้อม
– ผู้ที่ต้องการทราบผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมจากการทำโครงการ CSR การกุศล โครงการ และกิจการเพื่อสังคม
– ผู้ที่ต้องรายการผลลัพธ์ทางสังคมของโครงการหรือกิจการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและ/หรือสาธารณะทราบ

สนใจสามารถสมัครได้ที่ แนวทางการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม Basic Guide to Social Impact Assessment (SIA)
ราคา 2,500 บาท

ผู้สอน:

สฤณี อาชวานันทกุล
นักเขียน นักแปล และนักวิจัย ณ ต้นปี 2566 เธอมีผลงานรวมเล่มทั้งงานเขียนและงานแปลรวมกันมากกว่า 70 เล่ม
และงานวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่กว่า 35 ชิ้น งานเขียนและงานวิจัยส่วนใหญ่สะท้อนความสนใจอย่างต่อเนื่องในประเด็นธุรกิจที่ยั่งยืน การเงินเพื่อสังคม และเสรีภาพเน็ต

ภัทราพร ยาร์บะระ
อาจารย์พิเศษที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ม.ธรรมศาสตร์ ภัทราพรเป็นหัวหน้าโครงการและเป็นนักวิจัยหลักด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของทั้งโครงการซีเอสอาร์และกิจการเพื่อสังคม มากกว่า 15 โครงการในระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา

ดาวน์โหลด คู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน ฉบับปรับปรุง 2560 โดยสฤณี อาชวานันทกุลและภัทราพร แย้มละออ สนับสนุนในการจัดทำ โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ตั้งแต่ พ.ศ. 2557 ป่าสาละได้จัดคอร์สอบรมระยะสั้นในหลักสูตรการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact Assessment: SIA) และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return on Investment: SROI) สู่สาธารณะมากกว่า 20 ครั้ง จากองค์กรในหลายภาคส่วน เช่น ภาคธุรกิจ ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ สถาบันอุดมศึกษา องค์กรพัฒนาสังคมและกิจการเพื่อสังคม อาทิ เช่น บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การไฟฟ้านครหลวง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัท อีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด และบริษัท บูโร เวอริทัส (ประเทศไทย) เป็นต้น

นอกจากนี้ ป่าสาละยังจัดคอร์สอบรมระยะสั้นในหลักสูตรนี้เป็นการภายในให้กับพนักงานขององค์กรต่าง ๆ มากกว่า 15 ครั้ง เช่น ที่บริษัท เอสซีจี จำกัด (มหาชน) กลุ่มบริษัทพรีเมียร์และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  เป็นต้น

ผลงานด้านการวางระบบประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและวัดผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน
ตั้งแต่ พ.ศ. 2557 ป่าสาละได้ออกแบบการวางระบบประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและวัดผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนสำหรับโครงการซีเอสอาร์และกิจการเพื่อสังคมให้กับองค์กรต่าง ๆ โดยมีตัวอย่าง (ส่วนหนึ่ง) ดังต่อไปนี้

  • บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จำนวน 4 โครงการ
  • มูลนิธิพุทธรักษา ภายใต้บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด จำนวน 1 โครงการ
  • บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) จำนวน 1 โครงการ
  • บริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ในธุรกิจเคมีภัณฑ์ จำนวน 1 โครงการ
  • บริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ในธุรกิจซิเมนต์ จำนวน 1 โครงการ
  • กิจการเพื่อสังคมจำนวน 6 แห่ง (ทำร่วมกับอาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ)
  • ฯลฯ