Blog

ปัญญาประดิษฐ์กับงานวิจัย…ใช้/ไม่ใช้ อย่างไรดี

/
ในยุคที่ปัญญาประดิษฐ์มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ผู้เขียนจึงเป็นอีกหนึ่งคนที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ “ช่วย” ในการทำวิจัยเฉกเช่นเดียวกับนักวิจัยท่านอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่าท่ามกลางกระแสความตื่นตัวในการใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน...

เทคโนโลยีบล็อกเชน กับการจัดการข้อมูลในห่วงโซ่อุปทาน

/

หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า “บล็อกเชน” ผ่านหูกันมาบ้าง จากอิทธิพลของกระแสการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลที่มาแรงในหมู่นักลงทุนรุ่นใหม่ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีบล็อกเชนนั้นมีประโยชน์มากกว่าที่เราทุกคนคิด โดยในปัจจุบัน หลายประเทศในทวีปยุโรปได้เริ่มนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาประยุกต์ใช้ในการจัดการกับปัญหาด้านความยั่งยืน บทความนี้จะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนไปใช้ขับเคลื่อนแนวทางปฏิบัติเพื่อรับมือกับปัญหาด้านความยั่งยืนว่าทำได้อย่างไร

มีอะไรน่าสนใจในรายงานความเสี่ยงของโลกปี 2567

/
เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567 World Economic Forum (WEF) ได้เผยแพร่รายงานความเสี่ยงของโลก ปี 2567 (Global Risk Report 2024) ซึ่งเป็นรายงานฉบับที่ 19 ที่ได้จัดทำและเผยแพร่อย่างต่อเนื่องทุกปี โดยรายงานดังกล่าวเป็นการสำรวจความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ จากภาครัฐ...

ไขศักยภาพพลังงานหมุนเวียนด้วยนวัตกรรมทางการเงิน

/

หากมองในมุมของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ ต้นทุนในการทำธุรกรรมปล่อยสินเชื่อโครงการพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กนั้นไม่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายแถมยังใช้เวลาคืนทุนที่ยาวนาน โครงการเช่นนี้จึงจัดเป็นโครงการประเภทที่มีความเสี่ยงสูงและผลตอบแทนต่ำอย่างยิ่ง เหล่านายธนาคารจึงมองหาทางเลือกอื่นที่ผลตอบแทนดีกว่า

ทำไม ‘ไฮโดรเจน’ จึงสำคัญต่อเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ

/

คงไม่ผิดนักหากจะเรียกไฮโดรเจนว่าเชื้อเพลิงมหัศจรรย์ เพราะการเผาไหม้โดยตรงของเชื้อเพลิงไฮโดรเจนนั้นไม่ปล่อยมลภาวะ ยิ่งถ้าอยู่ในรูปแบบของเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) ผลลัพธ์ของกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าก็คือน้ำจืด เทคโนโลยีการผลิตไฮโดรเจนและเซลล์เชื้อเพลิงเกิดขึ้นมาหลายทศวรรษ โดยในอดีตไฮโดรเจนก็เคยได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘พลังงานแห่งอนาคต’ แต่เมื่อไหร่ ‘อนาคต’ ที่ว่าจะมาถึงเสียที?

อุตสาหกรรมแร่หายากจะยั่งยืนได้อย่างไร?

/

ทั่วโลกต่างเห็นเป้าหมายเดียวกันคือความพยายามจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม การบรรลุเป้าหมายนั้นคือการทำทุกวิถีทางเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ แต่การเปลี่ยนผ่านดังกล่าวต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมสำคัญนั่นคือแร่หายาก (rare earth elements) ซึ่งกระบวนการทำเหมือนสร้างผลกระทบทั้งทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมหาศาล จึงนับเป็นโจทย์สำคัญว่าจะทำให้อุตสาหกรรมดังกล่าวยั่งยืนได้อย่างไร

รถเมล์ร้อนจงหมดไป: การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจากอากาศที่ร้อนจัด

/

บนท้องถนนในกรุงเทพมหานครเต็มไปด้วยยวดยานพาหนะนานาชนิด ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคล แท็กซี่ รถสามล้อ จักรยานยนต์ จักรยาน ตลอดจนรถเมล์ หนึ่งในขนส่งสาธารณะที่มักถูกพูดถึงและเป็นที่ถกเถียงอย่างมากโดยเฉพาะประเด็นเรื่องคุณภาพและการพัฒนา ไล่ตั้งแต่สภาพรถ คุณภาพการบริการของพนักงาน หรือการคาดเดาไม่ได้ของตารางการเดินรถ

ภาวะอดอยาก: ปัญหาและทางออก

/

โครงการอาหารโลก (World Food Program: WFP) เผยข้อมูลที่น่าตกใจว่า ในปี 2022 ผู้คนที่เผชิญกับภาวะอดอยากมีจำนวนมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โดยพบว่ามีผู้คนกว่า 828 ล้านคนทั่วโลกที่ต้องเข้านอนพร้อมกับความหิวโหย สาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้เกิดวิกฤตการณ์ดังกล่าวมีมากมาย ไล่ตั้งแต่ ปัญหาความขัดแย้ง ตัวอย่างเช่น สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่บีบบังคับให้ผู้คนต้องอพยพย้ายถิ่นและสูญเสียรายได้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทำลายชีวิตและผลผลิตของผู้คน สภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกจากการระบาดของโรคโควิด 19 ตลอดจนปัญหาสำคัญอย่างความเหลื่อมล้ำของประชากรโลก

วิกฤติโลกร้อนถูกมองข้าม เพราะสารพัดปัญหาเร่งด่วนในปัจจุบัน

/

ปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อมอาจซ้อนทับจนนำไปสู่การแย่งชิงทรัพยากรระหว่างประเทศในอนาคตไม่ว่าจะเป็นอาหาร น้ำสะอาด เชื้อเพลิง และแร่หายาก ที่ความต้องการมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามจำนวนประชากรโลก แต่ในขณะเดียวกัน ทรัพยากรเหล่านั้นก็มีอยู่อย่างจำกัดและมีแนวโน้มผลิตได้น้อยลงเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองและวิกฤติภูมิอากาศ ช่องว่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานอาจนำไปสู่ ‘วิกฤติซ้อนวิกฤติ’ ที่ยากจะแก้ไข

สามประเด็นร้อน ESG ปี 2566

/

ในเมื่อวันนี้ว่ากันว่าเราอยู่ในยุคแห่งความยั่งยืน ศักราชแห่งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมเข้าสู่ “สังคมคาร์บอนต่ำ” ส่วนรัฐบาลไทยก็ชู “BCG Model” เป็นแบบจำลองหลักในการพัฒนาประเทศ ผู้เขียนคิดว่าน่าจะประเดิมคอลัมน์ “สำนึกใหม่” ในปีกระต่าย 2566 ด้วยการเขียนถึง 3 ประเด็นเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social, Governance เรียกรวมๆ ว่า ESG) ในภาคธุรกิจไทยที่เห็นว่าจะเป็นประเด็นใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ใน 2-3 ปีนี้

หน้าที่ 1 จาก 1412345...10...Last »