Blog

วิกฤติโควิด-19 ทำร้ายคนจน วิกฤติภูมิอากาศก็เช่นกัน

/

สิ่งที่ทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่เดินหน้าได้ลำบากคือการที่คนหรือประเทศร่ำรวยซึ่งเป็นสาเหตุของมลภาวะและวิกฤติภูมิอากาศกลับเป็นกลุ่มคนท้ายๆ ที่จะรู้สึกได้ถึงผลกระทบ ขณะที่ประชาชนกลุ่มแรกที่จะเผชิญหน้าวิกฤติคือเหล่าคนจนซึ่งใช้ทรัพยากรในชีวิตเพียงน้อยนิดแต่กลับต้องแบกรับต้นทุนดังกล่าว

คลื่นความร้อน ภัยเงียบจากวิกฤติภูมิอากาศ

/

หมู่บ้านลิตตัน (Lytton) ประเทศแคนาดาตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่ามกลางขุนเขา ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมามีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ราว 16.4 องศาเซลเซียส แต่เมื่อวันที่ 28 มิถุนายนเหตุการณ์กลับพลิกผันโดยอุณหภูมิที่ชุมชนแห่งนี้พุ่งขึ้นเป็น 47.9 องศาเซลเซียส ทุบสถิติร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ในประเทศแคนาดา แต่ลิตตันไม่ใช่เมืองเดียวที่เจอกับวิกฤติคลื่นความร้อน เพราะภัยพิบัติดังกล่าวกินพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกาและฝั่งตะวันตกของแคนาดา

“วิตกกังวล โศกเศร้า และสูญเสีย” อาการป่วยใจที่มาพร้อมความป่วยที่รุนแรงขึ้นของโลกและสิ่งแวดล้อม

/

ความเสื่อมโทรมลงของสิ่งแวดล้อมและผลพวงของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) กำลังส่งผลกระทบต่อชีวิตของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ผลกระทบด้านหนึ่งที่อาจจะยังมีการพูดถึงไม่มากนัก คือ ด้านสุขภาพจิตที่ภาวะป่วยทางใจใหม่ ๆ อย่างความเครียดจากสิ่งแวดล้อม (Environmental Distress) ความเครียดเชิงนิเวศ (Ecological Stress) ความเครียดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Distress) กำลังได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ตั้งเป้าหมายลดโลกร้อนอย่างไรให้แก้ไขปัญหาได้จริง

/

ปัญหาหลักที่แทบทุกบริษัทไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กต้องเผชิญคือคำถามที่ว่าจะตั้ง ‘เป้าหมาย’ ลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกในระดับบริษัทอย่างไรให้สมเหตุสมผล วัดผลได้ และสอดคล้องกับเป้าหมายของโลก ในปีเดียวกับการถือกำเนิดของข้อตกลงปารีส ทีมนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญได้จับมือกันก่อตั้งโครงการริเริ่มเป้าหมายที่อิงหลักวิทยาศาสตร์ (Science Based Targets initiative) หรือ SBTi ที่มีเป้าหมายเพื่อให้คำปรึกษาแก่บริษัทที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการรับมือวิกฤติภูมิอากาศ

ถึงเวลาภาคธุรกิจเปิดเผยความเสี่ยงจากวิกฤติภูมิอากาศ

/

คณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกาได้ตั้งคณะทำงานพิเศษเพื่อประเมินด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาลของบริษัทมหาชนโดยมีเป้าหมายหนึ่งคือการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงเกี่ยวกับวิกฤติภูมิอากาศภาคบังคับของเหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่ อำนวยความสะดวกแก่ผู้ถือหุ้นที่ใส่ใจความยั่งยืน สหรัฐอเมริกาไม่ได้ผลักดันประเด็นนี้อย่างโดดเดี่ยว เพราะเหล่าผู้กำกับดูแลทั้งในสหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ รวมถึงตลาดหลักทรัพย์ในฮ่องกง ลอนดอน เกาหลีใต้ และสหภาพยุโรป ต่างก็มีทีท่าว่าจะออกกฎบังคับให้เปิดเผยความเสี่ยงด้านวิกฤติภูมิอากาศเช่นกัน

‘ฝ้ายซินเจียง’ กับความท้าทายของบริษัทยักษ์ใหญ่ในมิติสิทธิมนุษยชน

/

‘ซินเจียง’ กลับมาเป็นประเด็นถกเถียงเผ็ดร้อนอีกครั้งบนเวทีโลก เมื่อเกิดกระแสการบอยคอตสินค้าจาก ‘ชาติตะวันตก’ ครั้งใหญ่ในประเทศจีน สร้างความระส่ำระสายต่อเหล่าแบรนด์แฟชันข้ามชาติไม่ว่าจะเป็น H&M, Nike, Uniqlo หรือ Adidas ซึ่งเคยมีการออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยต่อการใช้แรงงานบังคับในมณฑลซินเจียง ประเทศจีน นับเป็นความท้าทายด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทเหล่านี้

ขยะอาหารกับความเข้าใจผิดเกี่ยวกับวันหมดอายุ

/

แม้ธุรกิจอาหารจะพยายามสร้างมาตรฐานโดยการแปะป้ายวันที่ว่า ‘เมื่อไหร่’ ที่สินค้าจะหมดอายุ นำไปสู่การทิ้งอาหารให้กลายเป็นขยะทั้งที่ยังรับประทานได้ ความจริงแล้วการตัดสินใจว่าอันไหนต้องพึ่งพาการรับรู้ของเราเองไม่ว่าจะเป็นรูป รส กลิ่น สี สัมผัส ส่วนวันที่บนฉลากนั้นควรเป็นเพียงแค่ปัจจัยรอง

แอนโทรโปซีน (Anthropocene) คืออะไร?

/

‘แอนโทรโปซีน (Anthropocene)’ คือช่วงเวลาที่มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งทิ้งขยะจำนวนมหาศาลลงในมหาสมุทร หักร้างถางพงผืนป่าแล้วเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ถมผืนดินด้วยปุ๋ยเคมี ปล่อยมลภาวะทางอากาศ เช่น แก๊สเรือนกระจกจนเกิดวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เนื้อก็อยากกิน โลกก็อยากรักษ์ แล้วเราจะทำอย่างไรดี?

/

ผลิตภัณฑ์จากฃใช้ทรัพยากรมหาศาลในการผลิต อีกทั้งเหล่าปศุสัตว์ก็เป็นแหล่งปล่อยแก๊สเรือนกระจกซึ่งเป็นต้นเหตุของวิกฤติสภาพภูมิอากาศโดยคิดเป็นสัดส่วนราว 15 เปอร์เซ็นต์ของแก๊สเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ ปัจจุบันคนรักเนื้อมีทางเลือกเพิ่มขึ้น ทั้งการซื้อเนื้อสัตว์จากปศุสัตว์แบบรักษ์โลก เนื้อสัตว์ที่ไม่มีเนื้อสัตว์ซึ่งพัฒนาจนรสสัมผัสใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์จริงๆ ไปจนถึงเนื้อสัตว์จากห้องแล็บที่กำลังจะวางขายเชิงพาณิชย์เร็วๆ นี้

การเข้าสู่ดัชนี DJSI คือจุดเริ่มต้นไม่ใช่ปลายทาง

/

แม้ว่าประเทศไทยจะยืดอกอย่างภูมิใจว่าเป็นประเทศที่มีบริษัทอยู่ในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices) หรือ DJSI ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งของอาเซียน บางคนตีความไปว่าบริษัทเหล่านั้นคือบริษัทที่บรรลุเป้าหมายด้าน ‘ความยั่งยืน’ แต่ความเข้าใจดังกล่าวนั้นผิดถนัด เพราะ DJSI เป็นวัด ‘โดยเปรียบเทียบ’ อีกทั้งยังโดนตั้งคำถามถึงความน่าเชื่อถือของข้อมูล เช่นเดียวกับกรณีอื้อฉาวหลายต่อหลายครั้งที่สะท้อนให้เห็นว่าบริษัทใน DJSI อาจไม่ได้ยั่งยืนอย่างที่หลายคนคิด

หน้าที่ 4 จาก 14« First...23456...10...Last »