Knowledge

โครงการวิจัย “การประเมินระดับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทพลังงานที่ใหญ่ที่สุด 10 อันดับ”

/

บริษัท ป่าสาละ จำกัด ได้รับทุนวิจัยจากกองทุนสนับสนุนการวิจัยให้ดำเนินโครงการวิจัยเรื่อง  “การประเมินระดับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทพลังงานที่ใหญ่ที่สุด 10 อันดับ”

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์: สู่ระบบการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่มีธรรมาภิบาล

/

รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง สู่ระบบการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่มีธรรมาภิบาล โดย สฤณี อาชวานันทกุล และคณะ สนับสนุนโดยสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (GSEI)

EIA

โครงการวิจัย “สู่ระบบการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่มีธรรมาภิบาล”

/

ผลการวิจัย โครงการ “สู่ระบบการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่มีธรรมาภิบาล” คณะวิจัยเสนอเพิ่มกระบวนการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามรายงานการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) โดยให้ “กองทุน EIA” ซึ่งตั้งขึ้นใหม่ มีอำนาจในการคัดเลือกและแต่งตั้งบริษัทที่ปรึกษาซึ่งไม่มีส่วนได้เสียกับโครงการ มาทำหน้าที่ผู้ตรวจสอบภายนอก จากเดิมที่ระบบประเมิน EIA ยังไม่มีกลไกตรวจสอบที่ได้ประสิทธิภาพ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของ สผ. และ คชก. นอกจากนี้ เงินและโครงสร้างการทำงานของกองทุน EIA ที่เป็นผู้จัดจ้างผู้ตรวจสอบนั้น ยังสามารถออกแบบให้ครอบคลุมถึงการสร้างฐานข้อมูลสำหรับข้อมูลฐานต่างๆ (baseline data) หลักปฏิบัติที่ดีสาหรับผู้ประเมิน EIA และกิจกรรมต่างๆ เช่น การมอบรางวัล “รายงาน EIA ดีเด่น” เพื่อยกระดับทักษะวิชาชีพของผู้ประเมิน EIA ได้อีกทางหนึ่งด้วย

“การเงินปฏิวัติ” โดย สฤณี อาชวานันทกุล

/

ชวนมาอุ่นเครื่องเรื่องธนาคารที่ยังยืน กับหนังสือ “การเงินปฏิวัติ” เขียนโดย สฤณี อาชวานันทกุล หัวหน้าโครงการ ว่าด้วย “จุดเปลี่ยน” และ “การปรับตัว” ครั้งใหญ่ของวงการธนาคารโลก เมื่อสหรัฐอเมริกาเผชิญกับวิกฤตแฮมเบอร์เกอร และนิยามของ การเงินที่ยั่งยืน การเงินเพื่อสังคม และการเงินชุมชน

โครงการวิจัย “การจัดทำและเผยแพร่ชุดงานวิจัยเพื่อส่งเสริมการพัฒนา ‘การธนาคารที่ยั่งยืน'”

/

บริษัท ป่าสาละ จำกัด ได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิมั่นพัฒนา ให้ดำเนินโครงการวิจัย “”การจัดทำและเผยแพร่ชุดงานวิจัยเพื่อส่งเสริมการพัฒนา “การธนาคารที่ยั่งยืน””” ระยะเวลา 36 เดือน จุดมุ่งหมายสำคัญของโครงการนี้จะมุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้และการเผยแพร่องค์ความรู้ที่สังเคราะห์ได้จากการวิเคราะห์/การวิจัยในประเด็นสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนากระบวนการสร้างการธนาคารที่ยั่งยืนเป็นหลัก โดยมุ่งหวังผลต่อเนื่องว่าหากเกิดชุดองค์ความรู้ มีการแลกเปลี่ยนถกเถียงในเวทีสาธารณะต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นการธนาคารที่ยั่งยืน จะเป็นประโยชน์ในการก่อให้เกิดแรงผลักดัน การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง และเครือข่ายที่สนับสนุนวิถีการธนาคารที่ยั่งยืนในประเทศไทยต่อไป

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์: บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน

/

รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน โดย สฤณี อาชวานันทกุล ธิติมา อุรพีพัฒนพงศ์ สนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, 2559

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์: มาตรฐานสากลในการดำเนินธุรกิจเพื่อการเคารพสิทธิมนุษยชน

/

รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง มาตรฐานสากลในการดำเนินธุรกิจเพื่อการเคารพสิทธิมนุษยชน โดย สฤณี อาชวานันทกุล ธิติมา อุรพีพัฒนพงศ์ สนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, 2559

สไลด์นำเสนอ “ทำธุรกิจ ทำไมต้องใส่ใจ ‘สิทธิ’ ?”

/
ยุคนี้ใครๆ ก็พูดถึง ‘สิทธิมนุษยชน’ และบริษัทบางแห่งก็ดูจะตกเป็นที่ครหาอยู่เนืองๆ ในเรื่องการ ‘ละเมิด’ สิทธิมนุษยชน ทั้งการเอาเปรียบแรงงานข้ามชาติ แรงงานทาสสมัยใหม่ รวมไปถึงข้อพิพาทว่าด้วยสิทธิชุมชน สิทธิชนพื้นเมือง...

โครงการวิจัย “มาตรฐานการเคารพสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน”

/

เมื่อพิจารณาสถานการณ์ของภาคธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ธุรกิจมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขณะเดียวกันการดำเนินธุรกิจหลายประเภทมีลักษณะข้ามพรมแดน ซึ่งสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่นานาประเทศให้ความสำคัญ ดังนั้น การปฏิบัติตามมาตรฐานสากลต่างๆ อย่างแท้จริงในมิติของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน จึงเป็นประโยชน์ต่อทั้งภาคธุรกิจเองและต่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนในประเทศต่างๆ เช่นกัน

โครงการวิจัย “บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยภาคเอกชน”

/

ปัจจุบัน แนวทางการทำงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คือ การเข้าไปตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ที่เป็นผลกระทบจากการใช้อำนาจของ “รัฐ” เป็นสำคัญ แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ปัจจุบัน ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมนั้น ไม่ได้เกิดเฉพาะแต่กรณีการใช้อำนาจรัฐเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นภายในและโดยภาคธุรกิจอีกด้วย

หน้าที่ 7 จาก 12« First...56789...Last »