Human Rights Due Diligence for Business
การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านสำหรับภาคธุรกิจการตรวจสอบและประเมินสถานะขององค์กรด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Due Diligence-HRDD) นอกจากจะเป็นหัวใจสำคัญของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจแล้ว ยังเป็นกระบวนการที่องค์กรสามารถนำผลลัพธ์ไปบริหารจัดการความเสี่ยงและสร้างประโยชน์ทางธุรกิจได้อีกด้วย
หลักสูตรนี้ครอบคลุมแนวคิด ระเบียบวิธี การปฏิบัติและกระบวนการ ตั้งแต่หลักการด้านสิทธิมนุษยชน การกำหนดนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน ขั้นตอนการทำและ checklist รวมถึงวิธีใช้ผลของ HRDD ซึ่งจะช่วยให้องค์กรรู้และเข้าใจหลักคิดด้านสิทธิมนุษยชน เข้าใจความเกี่ยวข้องระหว่างธุรกิจกับสิทธิ อะไรใช่หรือไม่ใช่ ‘สิทธิมนุษยชน’ หน้าที่และขอบเขตของธุรกิจในประเด็นนี้ นอกจากนั้นยังเรียนรู้เหตุผลที่การละเมิดสิทธิมนุษยชนกลายเป็นประเด็นร้อนแรงสำหรับภาคธุรกิจมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งทำความเข้าใจว่า ‘มาตรฐานสากล’ คืออะไร และธุรกิจต้องทำแค่ไหนจึงจะ ‘เพียงพอ’
หัวข้ออบรม
- ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่เร่งด่วนที่สุด และแนวโน้มในระดับโลกและไทย
- “การเคารพในสิทธิมนุษยชน” เหมือนและต่างจาก “การปฏิบัติตามกฎหมาย” อย่างไร
- อธิบายกรอบคิดและแนวปฏิบัติระดับโลกด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน
- ฝึกสวมบทบาท (role-play) ที่จำลองจากสถานการณ์จริง
- ระดมสมองเรื่อง ‘ประเด็นเสี่ยง’ ด้านสิทธิมนุษยชน สำหรับภาคธุรกิจ
- กระบวนการ Human Rights Due Diligence และประเด็นหลักที่ต้องคำนึงถึง
- การประยุกต์ข้อมูลที่ได้จากกระบวนการ Human Rights Due Diligence ในการบริหารจัดการความเสี่ยง และสร้างประโยชน์ทางธุรกิจ
การอบรมครั้งต่อไป
- 18 – 19 สิงหาคม 2565 เวลา 9.00 – 16.00 น.
รูปแบบ: การอบรมออนไลน์ (สอนสด) ผ่านโปรแกรม Zoom
ราคา: 10,500 บาท ต่อท่าน*
*(ราคานี้รวมเอกสารประกอบการเรียน และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้ว)
หมายเหตุ
1. บริษัท ป่าสาละ จำกัด ขอสงวนสิทธิในการยกเลิกหรือเลื่อนการจัด workshop ในกรณีที่มีจำนวนผู้เข้าร่วมอบรมน้อยกว่าจำนวนขั้นต่ำที่บริษัทฯ กำหนดไว้ ทั้งนี้ บริษัทฯ จะคืนเงินค่าเข้าร่วม workshop เต็มจำนวนให้แก่ผู้เข้าร่วมที่ชำระเงินแล้ว
2. บริษัท ป่าสาละ จำกัด ขอสงวนสิทธิในการคืนเงินค่าเข้าร่วม workshop หรือเปลี่ยนรอบการเข้าร่วม workshop ให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม ในกรณีที่มีการชำระเงินแล้ว แต่ผู้เข้าร่วมอบรมตามรายชื่อที่แจ้งไว้ไม่มาเข้าร่วม workshop ตามวัน เวลา และสถานที่ซึ่งบริษัทฯ แจ้งไว้ในกำหนดการ
การลงทะเบียน
ขั้นตอนการลงทะเบียนและชำระเงิน
- ลงทะเบียนสำรองที่นั่งได้ที่นี่
- รอรับอีเมลยืนยันการลงทะเบียน และรายละเอียดในการชำระเงิน
- ส่งหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล info@salforest.com
- ป่าสาละจะจัดส่งใบตอบรับการลงทะเบียน และใบเสร็จรับเงินไปที่อีเมลหรือที่อยู่ของท่าน
หลักสูตร Human Right Due Diligence for Business
วันที่ 18 – 19 สิงหาคม 2565
ผู้สอน:
สฤณี อาชวานันทกุล
นักเขียน นักแปล และอาจารย์พิเศษที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ม.ธรรมศาสตร์ นอกจากจะเขียนบทความเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนและการเงินเพื่อสังคมอย่างสม่ำเสมอแล้ว สฤณียังได้เขียนและแปลหนังสือกว่า 50 เล่ม หลังจากที่ลาออกจากงานประจำในภาคการเงิน
สฤณีเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ป่าสาละ จำกัดและดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการด้านการพัฒนาความรู้ รวมทั้งเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย “การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) และการจัดทำคู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนของธุรกิจการโรงแรมอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook ) รวมทั้งรายการตรวจสอบ (checklist ) ที่เกี่ยวข้อง” ภายใต้การสนับสนุนของทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และเป็นวิทยากรสอนเรื่องการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านสำหรับภาคธุรกิจให้กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) และบริษัทชั้นนำอื่นๆ
ดาวน์โหลดคู่มือประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) สำหรับภาคธุรกิจ
Testimonials
ตอนนี้สอนวิชากฎหมายอยู่ที่นิด้า ซึ่งมีประเด็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนด้วย พอได้เรียนแล้วตอบโจทย์มากเลย เพราะว่าสามารถนำเอาหลักการ HRDD ไปประยุกต์ใช้กับวิชาที่สอน ซึ่งเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายธุรกิจได้
ชอบวิธีการสอนของอาจารย์ คือ มีการสลับระหว่างการบรรยาย และกิจกรรม สมมติว่ากำลังบรรยายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของบริษัทเกี่ยวกับด้านสิทธิมนุษยชน ก็มีกิจกรรมแทรก โดยให้ผู้เรียนไปดูนโยบายจริง ๆ ของบริษัทว่าบริษัทเขามีนโยบายทีเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนอย่างไร เราเห็นด้วยหรือไม่ ซึ่งส่วนตัวได้เอาเทคนิคของอาจารย์ไปลองใช้ พอเราพูดถึงเรื่องการระบุปัญหาและความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน เราก็ลองสร้างกิจกรรมขึ้นมาให้นักศึกษาได้ลองเล่นกันดู ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่ได้บรรยายไปก่อนหน้านี้ ทำให้เชื่อมโยงกันค่อนข้างเห็นภาพที่ชัดเจน
คุณพีรพล เจตโรจนานนท์ในองค์กรมีการทำเรื่องนี้อยู่ พอมีจะต้องทำโครงการด้านสิทธิในองค์กร เลยหาคอร์สดู ซึ่งคอร์สนี้ก็ทำให้รู้หลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในด้านประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ในคอร์สมีกิจกรรม แบบฝึกหัด และกรณีศึกษาให้ได้เรียนรู้ เพราะที่ผ่านมาโดยส่วนตัวจะเจอปัญหาว่าเวลาทำงานจริงกับเวลาที่เราไปศึกษาข้อมูลมาตรฐานต่าง ๆ ที่เขียนในตัวเล่มกับการนำมาปรับใช้กับการทำงานจะเป็นคนละแบบ เพราะฉะนั้นการมีกิจกรรมหรือแบบฝึกหัดในคอร์สเรียน ทำให้เราได้ฝึกคิด ฝึกทำ ฝึกเจอปัญหา และฝึกแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจริง ๆ
คุณพชร ศุภวรรธนะกุล