Workshop
คอร์สอบรมระยะสั้นวิธีสร้าง “คุณค่าร่วม” (CSV)
(How to Create Shared Value: CSV?)
“CSR” และ “CSV” และ “ความยั่งยืน” (Sustainability) สามเรื่องนี้ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร และทำไมธุรกิจต้องเข้าใจทั้ง 3 เรื่อง
คอร์สนี้จะแนะนำความหมายที่แท้จริง และแนวคิดพื้นฐานในการสร้าง “คุณค่าร่วม” (Shared Value) ของธุรกิจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กับการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ทั้ง 3 วิธี รวมไปถึงวิธีการทำความเข้าใจความเสี่ยงด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของธุรกิจ การค้นหาโอกาสทางธุรกิจที่มาจากความท้าทายด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึง “จุดแข็ง” ของธุรกิจที่สามารถปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาให้เกิดเป็น “คุณค่าร่วม”
กลยุทธ์การปรับเปลี่ยนจากซีเอสอาร์สู่ “คุณค่าร่วม”
(Strategy Shift: From CSR to CSV)
หลายองค์กรเริ่มให้ความสนใจในการสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value: CSV) มากขึ้นและหันไปทบทวนโครงการความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) ว่าโครงการไหนที่ ‘เหมาะ’ หรือ ‘ไม่เหมาะ’ กับการยกระดับไปสู่การสร้างคุณค่าร่วม และต้องวางแผนหรือปรับเปลี่ยนกลยุทธ์อย่างไรที่เปลี่ยนให้โครงการซีเอสอาร์สร้างความสามารถในการแข่งขันแก่ธุรกิจไปพร้อมกับการสร้างคุณค่าทางสังคม/สิ่งแวดล้อมได้ในระยะยาว
คอร์สนี้จะนำเสนอหลักคิดในการวิเคราะห์และคัดเลือกโครงการซีเอสอาร์ที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่จะพัฒนาไปสู่การสร้างคุณค่าร่วม กลยุทธ์ในการปรับเปลี่ยนงานด้านซีเอสอาร์ไปสู่คุณค่าร่วม และปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงและปรับเปลี่ยนเพื่อให้คุณค่าร่วมนั้นประสบผลสำเร็จได้ทั้งทางธุรกิจและทางคุณค่าทางสังคม
การประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน
(Social Impact Assessment: SIA & Social Return on Investment: SROI)
ถ้าคุณทำโครงการซีเอสอาร์ โครงการ CSV กิจการเพื่อสังคมหรือองค์กรภาคประชาสังคม แล้วสงสัยว่าโครงการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้สังคมอย่างไร จะวัดผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact) ที่เกิดขึ้นได้อย่างไร? และงบประมาณที่ใช้ไปคุ้มค่าหรือไม่?
คอร์สนี้ครอบคลุมแนวคิด ระเบียบวิธี และการปฏิบัติที่จำเป็นต่อการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม ตั้งแต่การระบุตัวผู้มีส่วนได้เสีย วิธีเขียน “ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change) วิธีระบุห่วงโซ่ผลลัพธ์ (Impact Value Chain) และการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) โดยใช้กรณีศึกษาจากโลกธุรกิจจริง โดยแบ่งออกเป็น 2 หลักสูตรตามเป้าหมายและพื้นฐานของผู้เข้าร่วม ได้แก่ หลักสูตรพื้นฐาน (Beginner) สำหรับผู้ที่ยังไม่มีพื้นฐานด้านการวัดผลลัพธ์ทางสังคมและการคำนวณผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน หรือยังไม่เคยทดลองใช้เครื่องมือการประเมินดังกล่าว และหลักสูตรระดับกลาง (Intermediate) สำหรับผู้ที่เข้าใจพื้นฐานด้านการวัดผลลัพธ์ทางสังคมและการคำนวณผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนแล้ว และต้องการฝึกการใช้เครื่องมือกับโครงการ/กิจการเพื่อสังคมที่ตนเองรับผิดชอบอยู่เพื่อนำไปใช้งานจริง
การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านสำหรับภาคธุรกิจ
(Human Rights Due Diligence-HRDD for Business)
นอกจากจะใช้เพื่อทำความเข้าใจการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจแล้ว HRDD ยังเป็นกระบวนการที่องค์กรสามารถนำผลลัพธ์ไปบริหารจัดการความเสี่ยงและสร้างประโยชน์ทางธุรกิจได้อีกด้วย หลักสูตรนี้ครอบคลุมแนวคิด ระเบียบวิธี การปฏิบัติและกระบวนการ ตั้งแต่หลักการ การกำหนดนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน และอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรรู้และเข้าใจหลักคิดด้านสิทธิมนุษยชน เข้าใจความเกี่ยวข้องระหว่างธุรกิจกับสิทธิ หน้าที่และขอบเขตของธุรกิจ และรู้เหตุผลที่การละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นประเด็นร้อนแรงสำหรับภาคธุรกิจมากขึ้นเรื่อย ๆ
ตารางคอร์สอบรมระยะสั้น พ.ศ. 2565 รูปแบบออนไลน์
- การประเมินผลลัพธ์ทางสั
งคมและผลตอบแทนทางสั งคมจากการลงทุน (Social Impact Assessment & Social Return on Investment: SROI) ระดับพื้นฐาน (กรุณาติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม) - การประเมินผลลัพธ์ทางสั
งคมและผลตอบแทนทางสั งคมจากการลงทุน (Social Impact Assessment & Social Return on Investment: SROI) ระดับกลาง (กรุณาติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม) - How to Create Shared Value: CSV? วิธีสร้าง “คุณค่าร่วม” (CSV) (กรุณาติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม)
นอกเหนือจากการจัดอบรมระยะสั้นสู่สาธารณะแล้ว ป่าสาละยังมีบริการจัดอบรมให้เฉพาะกลุ่มองค์กรหรือบริษัท (in-house) ของท่าน ซึ่งสามารถเป็นที่องค์กร/บริษัทของท่าน หรือนอกสถานที่ ในจำนวนไม่เกิน 30 ท่านต่อคอร์ส การเรียนการสอนในหลักสูตรต่าง ๆ เฉพาะองค์กร/บริษัทจะใช้กรณีศึกษาจากโครงการจริงขององค์กร/บริษัทเป็นหลัก
หากท่านสนใจ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและราคาได้ที่ 02 258 7383, 081 370 7899