ขอเชิญทุกท่านร่วมงานเสวนา DIB TALK (Do It Better Talk) ครั้งที่ 2 ของป่าสาละ ที่จะกระตุ้นการแลกเปลี่ยนความคิดในประเด็นความยั่งยืน มาร่วมกันหาคำตอบจากบุคคลหลากหลายอาชีพที่ลงมือเปลี่ยนโลกให้ยั่งยืนด้วยวิถีของพวกเขาเอง ที่จะช่วยจุดประกายให้เห็นว่า “ในฐานะคนตัวเล็กๆ เราจะทำอะไรดีๆ ให้โลกได้บ้าง”

 

ผู้บรรยายรับเชิญภายในงาน

  1. ทรงกลด บางยี่ขัน บรรณาธิการนิตยสาร a day

นักสื่อสาร DIB

ทรงกลด อดีตนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและเอ็นจีโอ ที่ผันตัวมาเป็นบรรณาธิการนิตยสาร a day นิตยสารzcongขวัญใจคนรุ่นใหม่ ทรงกลดเชื่อว่าด้วยพลังของนักสื่อสาร  เขาสามารถทำหน้าที่เล่าเรื่องต่างๆ เพื่อให้คนในสังคมเข้าใจปัญหา เกิดแรงบันดาลใจ และสร้างพลังการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมในวงกว้างได้ ทรงกลดตั้งข้อสงสัยว่า เหตุที่งานภาคสังคมยังเข้าไม่ถึงคนรุ่นใหม่ในกระแสหลักอาจเป็นเพราะขาดนักสื่อสารที่ดี ทุกวันนี้ทรงกลดทำงานสื่อสารเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งในประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อมผ่านงานเขียน การเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์  และกิจกรรมที่พาคนเมืองไปสัมผัสประเด็นสังคมต่างๆ ด้วยตัวเขาเอง

 

วิดีโอจากงาน:

ตอนที่ 1

ตอนที่ 2

 

2. พ่อหลวงธีรเมศว์ ขจรรัตนภิรมย์ (พรมมินทร์ พวงมาลา) อดีตผู้ใหญ่บ้านแม่กำปอง จ.เชียงใหม่

ผู้นำชุมชน DIB

ในฐานะผู้นำชุมชน พ่อหลวงธีรเมศว์เชื่อว่า การพัฒนาชุมชนต้องอยู่บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองได้2อย่างยั่งยืนเขาจึงเริ่มต้นโครงการพัฒนาชุมชนที่ใส่ใจทั้งด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยการก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์และกลุ่มฝึกอบรมอาชีพ เพื่อให้ชาวบ้านเข้าถึงแหล่งเงินทุนและบรรเทาปัญหาความยากจน ฟื้นฟูป่าต้นน้ำที่เคยเสื่อมโทรม สร้างความเข้าใจและส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการปลูกกาแฟใต้ร่มไม้ใหญ่ พัฒนากระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำจากน้ำตก ทำให้คนทั้งในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงได้มีไฟฟ้าใช้ และขายคืนให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกทางหนึ่ง คนและป่าจึงอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืนในหมู่บ้านเล็กๆ แห่งนี้

วิดีโอจากงาน:

ตอนที่ 1

ตอนที่ 2

 

 

3. สุรางค์ จันทร์แย้ม ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการสวิง (SWING: Service Workers in Group Foundation)

เพื่อนพนักงานบริการ (ทางเพศ) DIB

 สุรางค์ตระหนักถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำและคนชายขอบในสังคม เธอจึงก่อตั้งมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ 3(สวิง) ขึ้นเพื่อสร้างโอกาสที่เท่าเทียม และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับกลุ่มผู้ขายบริการทางเพศ อาทิ การฝึกทักษะด้านต่างๆ เช่น ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ให้พนักงานบริการ เพื่อให้พวกเขามีความรู้มากขึ้นหากต้องการเปลี่ยนอาชีพในอนาคต นอกจากนี้ยังให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ ด้วยการจัดตั้งคลินิกตรวจโรค จัดหาถุงยางอนามัยและสารหล่อลื่นคุณภาพมาจำหน่ายให้พนักงานบริการในราคาถูกกว่าท้องตลาด เพราะถุงยางจากการบริจาคไม่สามารถหาได้อย่างสม่ำเสมอ และสินค้าที่จำหน่ายในตลาดมีราคาสูงเกินไป

 

วิดีโอจากงาน:

ตอนที่ 1

ตอนที่ 2

 

 

4. อ.เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์

นักเศรษฐศาสตร์และเจ้าของบ้าน”ยั่งยืน” DIB

 นักเศรษฐศาสตร์ด้านพลังงาน อดีตกรรมการในคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามมาตรา 67 ของ4รัฐธรรมนูญ (คณะกรรมการสี่ฝ่ายแก้ไขปัญหามาบตาพุด) และเลขานุการคณะกรรมการปฏิรูป ผู้พัฒนาและส่งเสริมให้ชุมชนหันมาใช้พลังงานชีวมวลเพื่อการใช้พลังงานอย่าง “ยั่งยืน” รวมถึงยังเปลี่ยนบ้านตนเองเป็น “ต้นแบบ” บ้านยั่งยืน ด้วยการออกแบบให้เป็นบ้านประหยัดพลังงานและน้ำ มีสวนผักและฟาร์มผลิตอาหารได้เอง  ลดรอยเท้าคาร์บอนและใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

 

วิดีโอจากงาน:

ตอนที่ 1

ตอนที่ 2

 

วัน เวลาและสถานที่จัดงาน

วันอาทิตย์ ที่ 24 พฤษภาคม 2558 เวลา 13.00- 17.00 น.

ณ ห้อง ดร.ถาวร พรประภา ออดิธอเรียม ตึกสยามกลการ ชั้น 5 (BTS สนามกีฬาแห่งชาติ)

บัตรเข้างาน

1. บัตรราคา 250 บาท (รับฟรี หนังสือ “เขียวเปลี่ยนโลก” โดย กิล เฟรนด์ แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล มูลค่า 300 บาท สำหรับผู้ซื้อบัตร 50 ท่านแรก)

2. บัตรราคา 399 บาท*

*ราคานี้รวมบัตรเข้างานและหนังสือ “เขียวเปลี่ยนโลก” 1 เล่ม มูลค่า 300 บาท

 

สนับสนุนโดย

logos

พันธมิตรด้านสื่อ

iCARE & MQDC