จากโครงการจัดทำกรณีศึกษาและรายงาน “Green Innovation” / “Green Productivity” โดยบริษัท ป่าสาละ จำกัดร่วมมือกับโครงการ ‘เศรษฐกิจแห่งวันพรุ่งนี้’ ภายใต้ มูลนิธิ ฟรีดริค เอแบร์ท (FES) ประจำประเทศไทย

กรุณา Register บนเว็บ Issuu.com ก่อนดาวน์โหลดเอกสาร

อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง ใส่นวัตกรรมเขียว แปลงขยะเป็นความยั่งยืน

กระบวนการผลิตสินค้าต่างๆ โดยเฉพาะการผลิตกะทิสำเร็จรูปยูเอชทีตราชาวเกาะ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์แรกและผลิตภัณฑ์หลักของบริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด เคยก่อให้เกิดขยะมากมาย เพราะมะพร้าวที่เข้าสู่โรงงานวันละหลายแสนลูก เมื่อถูกคั้นออกมาเป็นกะทิแล้ว ของเหลือหรือของเสียต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมะพร้าว กะลามะพร้าว เปลือกมะพร้าว กากมะพร้าว น้ำเสียจากการทำความสะอาดเครื่องจักรที่มีไขมันปนเปื้อน ก็กลายสภาพเป็นของเสียที่หากปล่อยทิ้งไว้ก็จะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชน ซึ่งย้อนกลับมาเป็นผลเสียต่อภาพลักษณ์ของบริษัท แต่หากกำจัดหรือบำบัดก็เสียค่าใช้จ่ายมหาศาล กลายเป็นต้นทุนทางธุรกิจที่อาจจะทำให้เสียเปรียบในการแข่งขัน การจัดการของเสียในช่วงต้นของอำพลฟูดส์จึงทำไปตามความจำเป็น จนกระทั่งปี 2548 เมื่ออำพลฟูดส์เจอวิกฤตต้นทุน จากการขึ้นราคาของน้ำมันเตา เช่นเดียวกับการขยับตัวของค่าแรง อำพลฟูดส์จึงเริ่มมองหาทางออกจากวิกฤต และได้พบว่ามีนวัตกรรมเขียวต่างๆ มากมายสามารถช่วยเปลี่ยนของเสียที่บริษัทเคยมองว่าเป็นขยะให้กลายเป็นความยั่งยืนได้ เพราะนอกจากจะลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหากับชุมชนรอบๆ โรงงานแล้ว ยังช่วยเพิ่มยอดขายและกำไรให้กับบริษัทได้อีกด้วย จนกลายเป็นวิถีการทำธุรกิจที่ยั่งยืนสไตล์อำพลฟูดส์ที่น่าศึกษา

จัดทำเมื่อพฤศจิกายน 2557