Public Research

EIA

โครงการวิจัย “สู่ระบบการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่มีธรรมาภิบาล”

/

ผลการวิจัย โครงการ “สู่ระบบการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่มีธรรมาภิบาล” คณะวิจัยเสนอเพิ่มกระบวนการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามรายงานการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) โดยให้ “กองทุน EIA” ซึ่งตั้งขึ้นใหม่ มีอำนาจในการคัดเลือกและแต่งตั้งบริษัทที่ปรึกษาซึ่งไม่มีส่วนได้เสียกับโครงการ มาทำหน้าที่ผู้ตรวจสอบภายนอก จากเดิมที่ระบบประเมิน EIA ยังไม่มีกลไกตรวจสอบที่ได้ประสิทธิภาพ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของ สผ. และ คชก. นอกจากนี้ เงินและโครงสร้างการทำงานของกองทุน EIA ที่เป็นผู้จัดจ้างผู้ตรวจสอบนั้น ยังสามารถออกแบบให้ครอบคลุมถึงการสร้างฐานข้อมูลสำหรับข้อมูลฐานต่างๆ (baseline data) หลักปฏิบัติที่ดีสาหรับผู้ประเมิน EIA และกิจกรรมต่างๆ เช่น การมอบรางวัล “รายงาน EIA ดีเด่น” เพื่อยกระดับทักษะวิชาชีพของผู้ประเมิน EIA ได้อีกทางหนึ่งด้วย

โครงการวิจัย “การจัดทำและเผยแพร่ชุดงานวิจัยเพื่อส่งเสริมการพัฒนา ‘การธนาคารที่ยั่งยืน'”

/

บริษัท ป่าสาละ จำกัด ได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิมั่นพัฒนา ให้ดำเนินโครงการวิจัย “”การจัดทำและเผยแพร่ชุดงานวิจัยเพื่อส่งเสริมการพัฒนา “การธนาคารที่ยั่งยืน””” ระยะเวลา 36 เดือน จุดมุ่งหมายสำคัญของโครงการนี้จะมุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้และการเผยแพร่องค์ความรู้ที่สังเคราะห์ได้จากการวิเคราะห์/การวิจัยในประเด็นสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนากระบวนการสร้างการธนาคารที่ยั่งยืนเป็นหลัก โดยมุ่งหวังผลต่อเนื่องว่าหากเกิดชุดองค์ความรู้ มีการแลกเปลี่ยนถกเถียงในเวทีสาธารณะต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นการธนาคารที่ยั่งยืน จะเป็นประโยชน์ในการก่อให้เกิดแรงผลักดัน การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง และเครือข่ายที่สนับสนุนวิถีการธนาคารที่ยั่งยืนในประเทศไทยต่อไป

โครงการวิจัย “มาตรฐานการเคารพสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน”

/

เมื่อพิจารณาสถานการณ์ของภาคธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ธุรกิจมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขณะเดียวกันการดำเนินธุรกิจหลายประเภทมีลักษณะข้ามพรมแดน ซึ่งสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่นานาประเทศให้ความสำคัญ ดังนั้น การปฏิบัติตามมาตรฐานสากลต่างๆ อย่างแท้จริงในมิติของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน จึงเป็นประโยชน์ต่อทั้งภาคธุรกิจเองและต่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนในประเทศต่างๆ เช่นกัน

โครงการวิจัย “บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยภาคเอกชน”

/

ปัจจุบัน แนวทางการทำงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คือ การเข้าไปตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ที่เป็นผลกระทบจากการใช้อำนาจของ “รัฐ” เป็นสำคัญ แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ปัจจุบัน ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมนั้น ไม่ได้เกิดเฉพาะแต่กรณีการใช้อำนาจรัฐเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นภายในและโดยภาคธุรกิจอีกด้วย

โครงการวิจัย “แรงจูงใจทางการเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย”

/

โครงการวิจัยระยะเวลา 12 เดือน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทดสอบความเป็นไปได้ของเครื่องมือและ/หรือกลไกทางการเงิน ที่สามารถเพิ่มแรงจูงใจให้เกษตรกรไทย

คู่มือ “คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำหรับภาคธุรกิจ”

/

คู่มือ “คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการสำหรับภาคธุรกิจ”ฉบับภาษาไทย (The Economics of Ecosystems & Biodiversity (TEEB) for Business) พร้อมกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้อง เพื่อกระตุ้นให้ภาคธุรกิจเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการประเมินคุณค่าระบบนิเวศ และสามารถนำคู่มือไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการความเสี่ยงและแสวงโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ

โครงการจัดทำรายงานและสร้างเครือข่าย Sustainable Banking Thailand

/

บริษัท ป่าสาละ จำกัด โดยการสนับสนุนจาก Rockefeller Foundation จัดทำรายงานวิจัยเรื่อง “เหตุผลทางธุรกิจของการธนาคารที่ยั่งยืนในประเทศไทย” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักในระดับผู้ดำเนินนโยบาย นักการเงิน ธุรกิจการธนาคาร และผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายอื่นๆ ในสังคมไทย ถึงความสำคัญของวิถี “การธนาคารที่ยั่งยืน” และจัดตั้ง “เครือข่ายการธนาคารไทยที่ยั่งยืน” (Sustainable Banking Thailand Network)

โครงการจัดทำกรณีศึกษาและรายงาน “Green Innovation” / “Green Productivity”

/

บริษัท ป่าสาละ จำกัด ได้รับมอบหมายโดยมูลนิธิ Friedrich-Ebert-Stiftung (FES) ประจำประเทศไทย ให้จัดทำกรณีศึกษา “นวัตกรรมสีเขียว” (green innovation) และ/หรือ “ผลิตภาพสีเขียว” (green productivity) ของบริษัทไทย 4 แห่ง รวมถึงรายงานสรุปข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อจุดประกายการถกเถียงเรื่องธุรกิจที่ยั่งยืนในสังคม สร้างความตระหนักใน “เหตุผลทางธุรกิจ” (business case) ของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจที่ยั่งยืน และกระตุ้นให้บริษัทอื่นๆ รวมถึงผู้ดำเนินนโยบายในประเทศได้เล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการใช้กลยุทธ์ “นวัตกรรมสีเขียว” และ “ผลิตภาพสีเขียว” สร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจและประโยชน์ต่อสังคม

สภาพภูเขาหัวโล้น จ.น่าน

โครงการวิจัย “ห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จ.น่าน”

/

โครงการวิจัย “Maize Supply Chain Management Analysis to Support Sustainable Watershed Management in Nan Province” (การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อสนับสนุนการจัดการลุ่มน้ำอย่างยั่งยืนใน จ.น่าน) วัตถุประสงค์เพื่อจัดทำข้อมูลห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่าน และวิเคราะห์รูปแบบการเพาะปลูกของเกษตรกร เพื่อประกอบการหารือแนวทางการเพาะปลูกและการจัดการลุ่มน้ำอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

pier

โครงการวิจัย “ห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมปลาป่น จ.สงขลา”

/

โครงการวิจัย “Mapping Shrimp Feed Supply Chain in Songkhla Province to Facilitate Feed Dialogues” (การจัดทำแผนที่ห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมปลาป่นในจังหวัดสงขลา เพื่อสนับสนุนการเสวนาเรื่องอาหารสัตว์ที่ยั่งยืน) มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำข้อมูลห่วงโซ่อุปทานและศึกษาผลกระทบของอุตสาหกรรมปลาป่นต่อความเป็นอยู่ของชุมชนประมงพื้นบ้านในจังหวัดสงขลา ตลอดจนสื่อสารให้สาธารณชนทั่วไปตระหนักและตื่นตัวในประเด็นดังกล่าวมากขึ้น

หน้าที่ 3 จาก 3123