Public Research

โครงการวิจัย “การศึกษาแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมของตัวแทนภาคประชาสังคม ในโครงการ Extractive Industries Transparency Initiative (EITI) ประเทศไทย”

/

บริษัท ป่าสาละ จำกัด ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ดำเนินโครงการวิจัย “การศึกษาแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมของตัวแทนภาคประชาสังคม ในโครงการ Extractive Industries Transparency Initiative (EITI) ประเทศไทย” เพื่อศึกษาแนวทางและทดลองปฏิบัติเพื่อการสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคประชาสังคม (อาทิ องค์กรพัฒนาเอกชน และชุมชนท้องถิ่น) ที่มีความตื่นตัวและแสดงเจตจำนงที่จะร่วมกระบวนการคัดเลือกตัวแทน EITI ตลอดจนกำหนดโครงสร้างและกระบวนการเลือกตั้งตัวแทน EITI ภาคประชาสังคมที่เหมาะสมเพื่อเข้าร่วมกลไกดังกล่าว

โครงการวิจัย “อุตสาหกรรมไฮเปอร์มาร์เก็ตและการประเมินตามเกณฑ์ Oxfam”

/

โครงการวิจัย “อุตสาหกรรมไฮเปอร์มาร์เก็ตและการประเมินตามเกณฑ์ Oxfam” โดย บริษัท ป่าสาละ จำกัด ได้รับมอบหมายจาก อ็อกแฟม (ประเทศไทย) วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้ คือ 1. สำรวจและวิเคราะห์ผู้เล่นชั้นนำในอุตสาหกรรมไฮเปอร์มาร์เก็ต (hypermarkets) ในไทย เน้นแผนกอาหารสด 2. ประเมินไฮเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำโดยเกณฑ์การประเมิน Food Retailers Accountability Tool ของ Oxfam GB

โครงการวิจัย “การประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในไทย กรณีศึกษา จ.น่าน และ จ.เชียงใหม่”

/

ผู้วิจัยพยายามประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นระหว่างปี 2557-2560 ของ “โครงการเปลี่ยนผ่านการปลูกข้าวโพด (post-maize transition projects)” ซึ่งได้แก่โครงการต่างๆ ที่มุ่งจะช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดลดและเลิกการปลูกพืชไร่ชนิดนี้ โดยเน้นที่โครงการที่มีการเข้าร่วมอย่างมีนัยสำคัญของบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์รายใหญ่ พบว่า การเผาตอซังข้าวโพดน่าจะลดลงมากในทุกพื้นที่โครงการ พื้นที่ที่มีป่าปกคลุมไม่ได้เพิ่มขึ้น ราคาข้าวโพดที่ตกต่ำอย่างมีนัยสำคัญช่วยสร้างแรงจูงใจให้ชาวบ้านเลิกปลูกข้าวโพด แต่ภาระหนี้สินของเกษตรกรยังคงมีอยู่อยู่ในระดับสูง เกษตรกรในโครงการเหล่านี้มีแหล่งรายได้ทางเลือกทีมีแนวโน้มดี แต่จะมีผลที่เป็นรูปธรรมต่อการดำรงชีวิตอย่างไรนั้นยังต้องรอดูต่อไป ดังนั้นเกษตรกรจำนวนมากจึงยังคงต้องพึ่งข้าวโพดเป็นรายได้หลัก และสุดท้าย “หลักประกันสิทธิในที่ดิน” และ “ตลาด/ผู้ซื้อที่พร้อมรับซื้อ” มีความสำคัญสำหรับความมั่นคงในการดำรงชีวิตของเกษตรกร

โครงการวิจัย “การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)”

/

โครงการวิจัยระยะเวลา 4 เดือน มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำ 1) รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)” 2) คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนของธุรกิจการโรงแรมอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) และ 3) รายการตรวจสอบ (checklist) ที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เพื่อเป็นคู่มือในการตรวจสอบและประเมินสถานะขององค์กรในด้านสิทธิมนุษยชนของธุรกิจด้านการโรงแรม

โครงการวิจัย “ความต้องการของผู้บริโภคต่ออาหารทะเลที่ยั่งยืน บทเรียนจากต่างประเทศ และการวิเคราะห์ช่องว่างในประเทศไทย”

/

อาหารที่ยั่งยืนต้องมีครบทั้งสามแง่มุมสำคัญ คือ แง่มุมเชิงเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราคา ซึ่งต้องเป็นธรรมกับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและเป็นราคาที่ผู้บริโภคสามารถจ่ายได้ แง่มุมเชิงนิเวศที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติด้วยการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสม และแง่มุมด้านสังคม ซึ่งสังคมและภาครัฐควรรับรู้ว่าภาคอาหารการเกษตรที่ยั่งยืนเป็นกุญแจสำคัญของการอยู่ดีกินดีของมนุษย์และเป็นการรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่น

โครงการ Fair Finance Thailand

/

ระหว่างปี พ.ศ. 2561-2565 บริษัท ป่าสาละ จำกัด ได้รับคัดเลือกให้ริเริ่มและดำเนินโครงการ “แนวปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรม” ในประเทศไทย – Fair Finance Thailand โดยคาดว่าจะเริ่มเผยแพร่ผลการประเมินสถาบันการเงินสู่สาธารณะได้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2562 มาตรฐานชุดนี้มุ่งเน้นการประเมินคุณภาพของนโยบายและการปฏิบัติของธนาคารภายใต้กรอบแนวคิดด้านความยั่งยืนในหัวข้อเฉพาะด้านและเผยแพร่คะแนนการประเมิน โดยองค์กรที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกแนวร่วมแนวปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรมในแต่ละประเทศ สามารถใช้ผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมินในการหารือและส่งอิทธิพลต่อหน่วยงานกำกับดูแลภาคธนาคาร ในการเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบการเงินที่เป็นธรรม

โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสำหรับกิจการเพื่อสังคม และจัดทำกรณีศึกษานำร่อง

/

โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ เครื่องมือ และระบบวิจัยเกี่ยวกับการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม เพื่อพัฒนาชุดงานวิจัยที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในเชิงนโยบายและในเชิงการสนับสนุนการดำเนินงานของกิจการเพื่อสังคม ขณะเดียวกันก็มุ่งเป้าที่การพัฒนาเครือข่ายนักวิจัยที่สนใจและวางระบบกลไกการจัดการวิจัยด้านกิจการเพื่อสังคมเพื่อสร้างความยั่งยืน ผ่านการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาร่วมกำหนดโจทย์ การผลิตทรัพยากรบุคคลด้านวิจัยที่มีคุณภาพ และการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิจัย เพื่อนำไปสู่การขยายผลในระยะยาวต่อไป

งานวิจัย “การเติบโตของ Fintech กับโอกาสการสร้างเศรษฐกิจที่พัฒนาอย่างทั่วถึง”

/

สรุปรายงานวิจัย เรื่อง การเติบโตของ Fintech กับโอกาสการสร้างเศรษฐกิจที่พัฒนาอย่างทั่วถึง (The Growth of Financial Technology
and Its Potential for Inclusive Economy) โดย สฤณี อาชวานันทกุล บริษัท ป่าสาละ จำกัด, สิงหาคม 2560 | รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “การจัดทำและเผยแพร่ชุดงานวิจัยเพื่อส่งเสริมการพัฒนา “การธนาคารที่ยั่งยืน”” สนับสนุนโดย มูลนิธิมั่นพัฒนา

โครงการวิจัย “รางวัลองค์กรที่น่าทำงานด้วยที่สุดภายใต้แนวคิดการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างยั่งยืน”

/

ในบรรดาผู้มีส่วนได้เสียของธุรกิจ พนักงานซึ่งเป็นกำลังหลักในการดำเนินธุรกิจ เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่กำลังได้รับการพูดถึงและบริษัทมองเห็นความสำคัญมากขึ้นในการมุ่งสู่ธุรกิจที่ยั่งยืน “การบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างยั่งยืน” โดยเฉพาะในแง่ของการดูแลเอาใจใส่พนักงาน การพัฒนามนุษย์ และสร้างสถานทำงานที่ “น่าทำ” นับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในเกณฑ์การรายงานและติดตามตรวจสอบระดับความยั่งยืนของธุรกิจ

โครงการวิจัย “การประเมินระดับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทพลังงานที่ใหญ่ที่สุด 10 อันดับ”

/

บริษัท ป่าสาละ จำกัด ได้รับทุนวิจัยจากกองทุนสนับสนุนการวิจัยให้ดำเนินโครงการวิจัยเรื่อง  “การประเมินระดับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทพลังงานที่ใหญ่ที่สุด 10 อันดับ”

หน้าที่ 2 จาก 3123