ผลการประเมินธนาคารพาณิชย์ไทยตามเกณฑ์ Fair Finance Guide International ประจำปี พ.ศ. 2562
ผลการประเมินธนาคารพาณิชย์ไทยตามเกณฑ์ Fair Finance Guide International ประจำปี พ.ศ. 2562 โดย แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย (Fair Finance Thailand)
ผลการประเมินธนาคารพาณิชย์ไทยตามเกณฑ์ Fair Finance Guide International ประจำปี พ.ศ. 2562 โดย แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย (Fair Finance Thailand)
สไลด์นำเสนอ ผลการประเมินธนาคารพาณิชย์ไทยตามเกณฑ์ Fair Finance Guide International ประจำปี พ.ศ. 2562 โดย สฤณี อาชวานันทกุล หัวหน้าโครงการวิจัย โครงการ Fair Finance Thailand
วันนี้ในระดับสากล ความเข้าใจและจริงใจของธนาคารในการเปลี่ยนเส้นทางสู่ธนาคารที่ยั่งยืน ในแง่ของการปล่อยสินเชื่อธุรกิจ จะดูจากสองเรื่องด้วยกัน คือ หนึ่ง การออกและบังคับใช้นโยบายสินเชื่อ (credit policy) ที่ชัดเจน คำนึงถึงความเสี่ยงด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล (Environment, Social & Governance ย่อว่า ความเสี่ยง ESG) มีรายการธุรกิจความเสี่ยง ESG สูงที่ธนาคารจะไม่สนับสนุน (exclusion list) และสอง การบูรณาการกระบวนการประเมินความเสี่ยง ESG เข้าไปในกระบวนการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร ไม่ใช่ดูแค่ว่าลูกค้าปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่ เพราะกฎหมายตามความเสี่ยง ESG ไม่ทัน
สามปีแล้วหลังจากที่โครงการวิจัย “เหตุผลทางธุรกิจของการธนาคารที่ยั่งยืนในประเทศไทย” สรุป “เหตุผลทางธุรกิจ” หรือ business case ของการเข้าสู่วิถีการธนาคารที่ยั่งยืนของธนาคารพาณิชย์ไทย วันนี้ผู้เขียนอยากย้อนกลับไปสรุปเหตุผลทางธุรกิจสั้นๆ ของการทำธุรกิจธนาคารอย่างรับผิดชอบ และสรุปสั้นๆ ว่าสถานการณ์ปัจจุบันในประเทศไทยเป็นอย่างไร ณ ต้นปี พ.ศ. 2562
เมื่อเช้าวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปฟังการแถลงแผนยุทธศาสตร์ 3 ปี (2561-2563) ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในงาน SEC Conference ภายใต้สโลแกน “Capital Markets For All” หรือ “ตลาดทุนเพื่อทุกคน” ซึ่งมีผู้แทนจากโบรกเกอร์ บริษัทจดทะเบียน บริษัทจัดการลงทุน และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ เข้าร่วมฟังอย่างคับคั่งกว่า 400 คน
ผู้ก่อตั้ง Simple เล็งเห็นว่า ผู้บริโภคทางการเงินโดยเฉพาะคนรุ่นมิลเลนเนียล มีความคุ้นเคยกับการทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านโทรศัพท์มือถืออย่างต่อเนื่อง และได้บริการทางการเงินที่ “เข้าใจง่าย” และ “เป็นมิตร” ในยุคที่ผลิตภัณฑ์ทางการเงินซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ และผู้บริโภคต้องปวดหัวกับ “การจัดการเงิน” ของตัวเองมากขึ้น จากแรงกดดันต่างๆ ในชีวิตยุคที่ทุกคนต้องพึ่งตนเอง
วันนี้เราได้ยินคำที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีในการให้บริการทางการเงิน ไม่ว่า “ฟินเทค” “พร้อมเพย์” “บิ๊กดาต้า” และล่าสุดก็ “คิวอาร์โค้ด” หนาหูขึ้นเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งเพราะธนาคารไทยแทบทุกแห่งกำลังตื่นตัวตื่นเต้นในการต้อนรับเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อยกระดับการให้บริการลูกค้า ซึ่งก็นับว่าเป็นข่าวดีสำหรับผู้บริโภคทางการเงิน แต่ยิ่งสถาบันการเงินเก็บข้อมูลเรามากขึ้นในศตวรรษที่ 21 ยุคซึ่งเทคโนโลยีอยู่รายรอบตัวเราทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น การคุ้มครอง “ความเป็นส่วนตัว” ยิ่งทวีความสำคัญและท้าทายขึ้นเรื่อยๆ
สรุปรายงานวิจัย เรื่อง การเติบโตของ Fintech กับโอกาสการสร้างเศรษฐกิจที่พัฒนาอย่างทั่วถึง (The Growth of Financial Technology
and Its Potential for Inclusive Economy) โดย สฤณี อาชวานันทกุล บริษัท ป่าสาละ จำกัด, สิงหาคม 2560 | รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “การจัดทำและเผยแพร่ชุดงานวิจัยเพื่อส่งเสริมการพัฒนา “การธนาคารที่ยั่งยืน”” สนับสนุนโดย มูลนิธิมั่นพัฒนา
คงไม่มีใครอยากเป็นหนี้ ไม่ว่าจะกู้เงินไม่กี่พันบาทจากเพื่อน บากหน้าไปยืมญาติ หรือบากบั่นดั้นด้นไปกรอกแบบฟอร์มกองโตเพื่อกู้เงินซื้อบ้านก็ตาม เมื่อเราเป็นหนี้ เราย่อมตกอยู่ในสถานะของ “ลูกหนี้” และในเมื่อเรารู้สึกว่าการผ่อนชำระหนี้ให้ตรงเวลาคือ “หน้าที่” เราก็มักจะก้มหน้าก้มตาพยายามผ่อนชำระให้ครบจำนวนและตรงเวลา โดยไม่แม้แต่จะนึกถึง “ความเป็นธรรม” ของหนี้
หนึ่งในนโยบายของทรัมป์ คือคำประกาศกร้าวของทรัมพ์เมื่อยามเดินสายหาเสียงว่า “ผมจะรื้อกฎหมาย Dodd-Frank!” จะส่งผลสะเทือนกว้างไกลต่อภาคธนาคารทั้งในและนอกอเมริกา รวมถึงกำลังจุดประกายวิวาทะรอบใหม่ที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่าด้วย “เส้นแบ่ง” ระหว่างบทบาทของกลไกตลาด กับบทบาทของกลไกรัฐ ว่าควรขีดกันตรงไหนอย่างไรสำหรับธุรกิจสถาบันการเงิน ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม