จากโครงการจัดทำกรณีศึกษาและรายงาน “Green Innovation” / “Green Productivity” โดยบริษัท ป่าสาละ จำกัดร่วมมือกับโครงการ ‘เศรษฐกิจแห่งวันพรุ่งนี้’ ภายใต้ มูลนิธิ ฟรีดริค เอแบร์ท (FES) ประจำประเทศไทย
กรุณา Register บนเว็บ Issuu.com ก่อนดาวน์โหลดเอกสาร
ปูนลำปาง Semi-open cut mining ก้าวไกลด้วยนวัตกรรมสีเขียวต้นแบบ (กรณีศึกษาความยาว 32 หน้า)
ต้นทางของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์คือการทำเหมืองหินปูน ซึ่งถือว่าเป็นขั้วตรงข้ามของความยั่งยืน เพราะแม้ว่าปูนซีเมนต์ที่ผลิตได้จะกลายเป็นบ้านเรือน หรือสิ่งก่อสร้างที่มีความแข็งแรงและอยู่ได้ยาวนาน แต่ปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการทำเหมืองปูน ไม่ว่าจะเป็นเสียงดัง ความสั่นสะเทือน ฝุ่น การเปลี่ยนแปลงทางภูมิประเทศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และภูมิทัศน์ ก็ทำให้ภาพของการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนกับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไม่อาจจะบรรจบกันได้ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เอสซีจี ผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายแรกและรายใหญ่ของประเทศไทย จึงคิดหานวัตกรรมการทำเหมืองรูปแบบใหม่เพื่อมุ่งสู่การทำธุรกิจอย่างยั่งยืน และเกือบ 20 ปีแล้วที่การทำเหมืองแบบ semi-open cut mining method ซึ่งเอสซีจีได้เริ่มใช้ที่เหมืองปูนภายใต้การดำเนินงานของ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด หรือปูนลำปาง ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไม่ใช่ขั้วตรงข้ามกับการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนแต่อย่างใด แต่สามารถก้าวเดินไปด้วยกันได้ หากให้ความสำคัญกับ Triple Bottom Line คือทั้งเรื่องเศรษฐกิจ (ผลลัพธ์ในการดำเนินธุรกิจ) สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน
จัดทำเมื่อกรกฎาคม 2558