คำเตือน: การกู้เงินและการเป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องผิด แต่การอ่านเงื่อนไขและรู้จัก #โลกของดอกเบี้ย แต่ละประเภท ทั้งที่มาและวิธีจ่ายหนี้ อาจเพิ่มตัวเลือกและเข้าใจวิธีบริหารหนี้สินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

1. ประเภทอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

#รู้หมือไร่… ลูกค้าแต่ละรายจะได้ดอกเบี้ยไม่เท่ากัน

สถาบันการเงินแต่ละแห่งจะใช้หลักการพิจารณา ‘อนุมัติ’ และ ‘คิดอัตราดอกเบี้ย’ ที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจสรุปหลักคิดง่ายๆ ด้วยหลักการพื้นฐานที่ชื่อ ‘5C’

2. หลักพิจารณาคิดอัตราดอกเบี้ย

แม้ว่านาย ก. และ นางสาว ข. จะกู้เงินจากธนาคารเดียวกัน แต่ทั้งคู่อาจไม่ได้รับอัตราดอกเบี้ยที่เท่ากันนะ

#อ้าวทำไมละ?

จริงๆ แล้วตัว ‘อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง’ ในแต่ละประเภทจะเท่ากัน เช่น นาย ก. และ นางสาว ข. มาขอสินเชื่อ ในฐานะลูกค้ารายย่อย จึงจัดอยู่ในกลุ่มที่จะได้อัตราดอกเบี้ย MRR

สมมุติว่าอัตราดอกเบี้ย  MRR ของธนาคารที่เข้าไปขอกู้อยู่ที่ 6 เปอร์เซ็น นาย ก. อาจได้ดอกเบี้ย MRR+1 (MRR 6 +1 = 7%) ขณะที่นางสาว ข. ได้ดอกเบี้ย MRR+0.5 (MRR6+0.5= 6.5%) แบบนี้เป็นต้น

#ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

อาจเพราะบทบาทของอัตราดอกเบี้ย ทำหน้าที่สะท้อนความน่าเชื่อถือของลูกหนี้แต่ละราย อัตราดอกเบี้ยของลูกค้าแต่ละรายจึงอาจไม่เท่ากัน โดยจะถูกพิจารณาจาก #คุณลักษณะและความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อ

และเมื่อรวมกับเหตุผลที่ว่า อัตราดอกเบี้ย MLR และ MRR เป็นอัตราดอกเบี้ย #เพื่ออ้างอิง ธนาคารจึงมีสิทธิ์ลดและเพิ่มดอกเบี้ยได้ตามความเหมาะสม

3. วิธีจ่ายดอกเบี้ย

วิธีจ่ายดอกเบี้ยส่วนใหญ่ คือจ่ายแบบ ‘เงินต้นคงที่’ และ ‘ลดต้นลดดอก’ ข้อเท็จจริงมีว่า จำนวนเงินที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยแบบ ‘ลดต้นลดดอก’ จะน้อยกว่าการจ่ายดอกเบี้ยแบบ ‘เงินต้นคงที่’ เกือบครึ่งหนึ่ง

หลักคิดคืออะไร?

เพราะการคิดดอกเบี้ยแบบ ‘เงินต้นคงที่’ มักคิดกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ (product) ที่ใช้แล้วจะเสื่อมสภาพ เช่น รถยนต์ (ยิ่งใช้ยิ่งเสื่อมสภาพ) ดอกเบี้ยที่เก็บได้นั้นต้องครอบคลุมกับความเสื่อมสภาพของสินค้าที่เสียไป