Infographic: ปลุกมนุษย์ป้าในตัวคุณ ธนาคารไม่มีสิทธิ์บิดเบือนข้อมูลเพื่อขายพ่วง
เคยไหมที่คุณเดินเข้าธนาคารไปเพื่อขอสินเชื่อกู้เงินหรือขอทำบัตรเดบิต แต่นายแบงค์เขาว่า ‘อ๊า…อย่างนี้ต้องทำประกันคู่ไปด้วยนะคร๊าบ’ #แบบนี้ก็ได้เหรอ?
เคยไหมที่คุณเดินเข้าธนาคารไปเพื่อขอสินเชื่อกู้เงินหรือขอทำบัตรเดบิต แต่นายแบงค์เขาว่า ‘อ๊า…อย่างนี้ต้องทำประกันคู่ไปด้วยนะคร๊าบ’ #แบบนี้ก็ได้เหรอ?
เมื่อนั่งอยู่ ณ เคาน์เตอร์ในธนาคาร เป็นธรรมดาที่เราอาจรู้สึกตัวเล็กและคิดว่าต้องทำตามแต่สิ่งที่พนักงานบอกเพียงเท่านั้น แต่ไม่ใช่นะ…เรามีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน และมีสิทธิถามจนกว่าเราจะเข้าใจ
คงไม่มีใครอยากเป็นหนี้ ไม่ว่าจะกู้เงินไม่กี่พันบาทจากเพื่อน บากหน้าไปยืมญาติ หรือบากบั่นดั้นด้นไปกรอกแบบฟอร์มกองโตเพื่อกู้เงินซื้อบ้านก็ตาม เมื่อเราเป็นหนี้ เราย่อมตกอยู่ในสถานะของ “ลูกหนี้” และในเมื่อเรารู้สึกว่าการผ่อนชำระหนี้ให้ตรงเวลาคือ “หน้าที่” เราก็มักจะก้มหน้าก้มตาพยายามผ่อนชำระให้ครบจำนวนและตรงเวลา โดยไม่แม้แต่จะนึกถึง “ความเป็นธรรม” ของหนี้
หนึ่งในนโยบายของทรัมป์ คือคำประกาศกร้าวของทรัมพ์เมื่อยามเดินสายหาเสียงว่า “ผมจะรื้อกฎหมาย Dodd-Frank!” จะส่งผลสะเทือนกว้างไกลต่อภาคธนาคารทั้งในและนอกอเมริกา รวมถึงกำลังจุดประกายวิวาทะรอบใหม่ที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่าด้วย “เส้นแบ่ง” ระหว่างบทบาทของกลไกตลาด กับบทบาทของกลไกรัฐ ว่าควรขีดกันตรงไหนอย่างไรสำหรับธุรกิจสถาบันการเงิน ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม
ผู้ให้บริการทางการเงินอาจทำกำไรได้ง่ายๆ โดยไม่สนใจที่จะช่วยลูกค้าลดหนี้ หรือหาวิธีเสริมสร้างความรู้ทางการเงินที่ยั่งยืน (ไม่ใช่การจัดสอนทีละหลายสิบหรือร้อยคน) แต่ผู้ให้บริการที่ก้าวไปถึงขั้นนี้ได้ ดังตัวอย่าง Debt Pay Down Solution ของ Wells Fargo และบริการ YNAB ก็สมควรจะได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้ให้บริการที่ ‘เข้าใจ’ หัวอกของลูกค้า และช่วย ‘พัฒนา’ วงการการเงินให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน
ข่าวใหญ่ข่าวหนึ่งในแวดวงธนาคารระดับโลกประจำปี 2559 แต่น่าเสียดายที่สื่อไทยต่างพร้อมใจกันไม่รายงาน คือ ข่าว เวลส์ ฟาร์โก (Wells Fargo) ธนาคารยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน โดนทางการสหรัฐปรับครั้งมโหฬารถึง 185 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 6,500 ล้านบาท) โทษฐานเปิดบัญชีเงินฝากและบัญชีบัตรเครดิตให้กับลูกค้าโดยพลการ (คือไม่เคยถามลูกค้าก่อน) ถึงกว่าสองล้านบัญชี (!) ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา
ชวนมาอุ่นเครื่องเรื่องธนาคารที่ยังยืน กับหนังสือ “การเงินปฏิวัติ” เขียนโดย สฤณี อาชวานันทกุล หัวหน้าโครงการ ว่าด้วย “จุดเปลี่ยน” และ “การปรับตัว” ครั้งใหญ่ของวงการธนาคารโลก เมื่อสหรัฐอเมริกาเผชิญกับวิกฤตแฮมเบอร์เกอร และนิยามของ การเงินที่ยั่งยืน การเงินเพื่อสังคม และการเงินชุมชน
“การธนาคารที่ยั่งยืน” คืออะไร เหตุใดผู้ว่าฯ แบงก์ชาติจึงมองว่าธนาคารต่างๆ ในอาเซียนจะต้องให้ความสำคัญ ทำแล้วธนาคารจะได้ประโยชน์ทางธุรกิจอะไรบ้าง ? หาคำตอบได้ในบทความนี้
บริษัท ป่าสาละ จำกัด ดำเนินการภายใต้ทุนวิจัยจาก มูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ เผยผลการวิจัยเรื่อง “เหตุผลทางธรุกิจของธนาคารที่ยั่งยืน” พบว่า วงการธนาคารพาณิชย์ไทยยังค่อนข้างล้าหลังในเรื่องการธนาคารที่ยั่งยืน เมื่อพิจารณาจากการปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบ และการเสริมสร้างการเข้าถึงบริการทางการเงินของกลุ่มประชาชนที่ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงิน