Knowledge

EITI report

รายงานวิจัย “การศึกษาแนวทางสร้างการมีส่วนร่วมของตัวแทนภาคประชาสังคม ในโครงการ Extractive Industries Transparency Initiative (EITI) ประเทศไทย”

/

รายงานวิจัย “การศึกษาแนวทางสร้างการมีส่วนร่วมของตัวแทนภาคประชาสังคม ในโครงการ Extractive Industries Transparency Initiative (EITI) ประเทศไทย”

โครงการวิจัย “การศึกษาแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมของตัวแทนภาคประชาสังคม ในโครงการ Extractive Industries Transparency Initiative (EITI) ประเทศไทย”

/

บริษัท ป่าสาละ จำกัด ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ดำเนินโครงการวิจัย “การศึกษาแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมของตัวแทนภาคประชาสังคม ในโครงการ Extractive Industries Transparency Initiative (EITI) ประเทศไทย” เพื่อศึกษาแนวทางและทดลองปฏิบัติเพื่อการสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคประชาสังคม (อาทิ องค์กรพัฒนาเอกชน และชุมชนท้องถิ่น) ที่มีความตื่นตัวและแสดงเจตจำนงที่จะร่วมกระบวนการคัดเลือกตัวแทน EITI ตลอดจนกำหนดโครงสร้างและกระบวนการเลือกตั้งตัวแทน EITI ภาคประชาสังคมที่เหมาะสมเพื่อเข้าร่วมกลไกดังกล่าว

โครงการวิจัย “อุตสาหกรรมไฮเปอร์มาร์เก็ตและการประเมินตามเกณฑ์ Oxfam”

/

โครงการวิจัย “อุตสาหกรรมไฮเปอร์มาร์เก็ตและการประเมินตามเกณฑ์ Oxfam” โดย บริษัท ป่าสาละ จำกัด ได้รับมอบหมายจาก อ็อกแฟม (ประเทศไทย) วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้ คือ 1. สำรวจและวิเคราะห์ผู้เล่นชั้นนำในอุตสาหกรรมไฮเปอร์มาร์เก็ต (hypermarkets) ในไทย เน้นแผนกอาหารสด 2. ประเมินไฮเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำโดยเกณฑ์การประเมิน Food Retailers Accountability Tool ของ Oxfam GB

โครงการวิจัย “การประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในไทย กรณีศึกษา จ.น่าน และ จ.เชียงใหม่”

/

ผู้วิจัยพยายามประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นระหว่างปี 2557-2560 ของ “โครงการเปลี่ยนผ่านการปลูกข้าวโพด (post-maize transition projects)” ซึ่งได้แก่โครงการต่างๆ ที่มุ่งจะช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดลดและเลิกการปลูกพืชไร่ชนิดนี้ โดยเน้นที่โครงการที่มีการเข้าร่วมอย่างมีนัยสำคัญของบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์รายใหญ่ พบว่า การเผาตอซังข้าวโพดน่าจะลดลงมากในทุกพื้นที่โครงการ พื้นที่ที่มีป่าปกคลุมไม่ได้เพิ่มขึ้น ราคาข้าวโพดที่ตกต่ำอย่างมีนัยสำคัญช่วยสร้างแรงจูงใจให้ชาวบ้านเลิกปลูกข้าวโพด แต่ภาระหนี้สินของเกษตรกรยังคงมีอยู่อยู่ในระดับสูง เกษตรกรในโครงการเหล่านี้มีแหล่งรายได้ทางเลือกทีมีแนวโน้มดี แต่จะมีผลที่เป็นรูปธรรมต่อการดำรงชีวิตอย่างไรนั้นยังต้องรอดูต่อไป ดังนั้นเกษตรกรจำนวนมากจึงยังคงต้องพึ่งข้าวโพดเป็นรายได้หลัก และสุดท้าย “หลักประกันสิทธิในที่ดิน” และ “ตลาด/ผู้ซื้อที่พร้อมรับซื้อ” มีความสำคัญสำหรับความมั่นคงในการดำรงชีวิตของเกษตรกร

สรุปผลการศึกษา “การประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในไทย กรณีศึกษา จ.น่าน และ จ.เชียงใหม่”

/

สรุปผลการศึกษา “การประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในไทย กรณีศึกษา จ.น่าน และ จ.เชียงใหม่” โดย บริษัท ป่าสาละ จำกัด เอกสารจัดทำโดย องค์การอ๊อกแฟม ประเทศไทย

คู่มือประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) สำหรับภาคธุรกิจ

/

คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) ของธุรกิจการโรงแรม และรายการตรวจสอบ (Checklist) ที่่เกี่ยวข้อง โดยทีมวิจัย บริษัท ป่าสาละ จำกัด

รายงาน “ความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล สังคมและสิ่งแวดล้อม กับระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงของธนาคาร”

/

ความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล สังคมและสิ่งแวดล้อม กับระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงของธนาคาร (ESG Risks and Bank’s Risk Management System) โดย สฤณี อาชวานันทกุล และคณะ

สรุปผลการวิจัย เรื่อง “นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่รับผิดชอบ สำหรับลูกค้ารายย่อย”

/

หนังสือเล่มนี้เป็น “ฉบับย่อ” ของรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง “กลไกการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินและนวัตกรรมทางการเงินที่รับผิดชอบต่อลูกค้ารายย่อย” จัดทำโดยคณะวิจัยจากบริษัท ป่าสาละ จำกัด ภายใต้การสนับสนุนโดย มูลนิธิมั่นพัฒนา จัดทำรูปเล่มและภาพประกอบโดย ทีมงาน way magazine

รายงาน “การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)”

/

รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) โดยทีมวิจัย บริษัท ป่าสาละ จำกัด

โครงการวิจัย “การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)”

/

โครงการวิจัยระยะเวลา 4 เดือน มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำ 1) รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)” 2) คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนของธุรกิจการโรงแรมอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) และ 3) รายการตรวจสอบ (checklist) ที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เพื่อเป็นคู่มือในการตรวจสอบและประเมินสถานะขององค์กรในด้านสิทธิมนุษยชนของธุรกิจด้านการโรงแรม

หน้าที่ 5 จาก 12« First...34567...10...Last »