Blog

‘กองทุนชดเชยความสูญเสียและเสียหาย’ ความก้าวหน้าครั้งใหญ่จากเวที COP27

/

แม้จะมีความท้าทายและความไม่แน่นอนมากมาย แต่ความสำเร็จในการจัดตั้งกองทุนชดเชยความสูญเสียและเสียหายครั้งนี้ก็นับเป็นก้าวสำคัญ เนื่องจากคนจำนวนไม่น้อยต่างมองว่านี่คือ 1 ใน 3 เสาหลักสำคัญในการรับมือภาวะโลกร้อนซึ่งประกอบด้วย 1) การลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก 2) การปรับตัวรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ 3) การชดเชยความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การเอารัดเอาเปรียบแรงงานผู้สร้าง (บอล) โลก 2022

/

เทศกาลกีฬาที่ได้รับความนิยมสูงอย่างฟุตบอลโลกครั้งที่ 22 กำลังจะเริ่มขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้า โดยมีประเทศกาตาร์รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพการแข่งขัน นอกเหนือจากความสนุกและน่าตื่นตาตื่นใจของมหกรรมกีฬาที่จัดทุกสี่ปี ฟุตบอลโลกหนนี้ยังมีประเด็นทางสังคมร้อนแรงมากมายที่ถูกกล่าวถึง อาทิ การกล่าวหาว่ามีการทุจริตคอร์รัปชันระหว่างการคัดเลือกเจ้าภาพ สภาพอากาศที่ร้อนจัด ซึ่งไม่เหมาะกับการแข่งขัน รวมถึงสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงานที่เลวร้ายในประเทศเจ้าภาพ ที่ถือว่าเป็นประเด็นร้อนแรงต่อเนื่องมาตั้งแต่ตอนประกาศให้ประเทศกาตาร์เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันบอลโลกครั้งนี้

มลพิษทางเสียงในชุมชนชายขอบ

/

ผลกระทบจากเสียงมีทั้งด้านบวกและด้านลบ เสียงสร้างความสุขให้เราได้ ไล่ตั้งแต่เสียงธรรมชาติ เสียงดนตรีบรรเลง หรือเสียงหัวเราะของลูกน้อย ฉันใดฉันนั้น เสียงก็สร้างความเดือดร้อนรำคาญได้เช่นกัน ตัวอย่างชัดเจน เช่น ในมหานครเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยเสียงรถราบนท้องถนน เสียงอากาศยาน เสียงเครื่องจักรทำงาน เสียงงานสังสรรค์รื่นเริง หรือแม้แต่เสียงโวยวายของผู้คนในหมู่บ้าน เสียงเหล่านี้ หากเป็นเสียงที่ไม่พึงประสงค์ มีระดับความดังสูง และดังต่อเนื่องยาวนาน ก็ถูกจัดว่าเป็นมลพิษทางเสียง

สัตว์ในสวนสัตว์กับสวัสดิภาพที่ควรได้รับ

/

ปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าสมควรมีสวนสัตว์หรือไม่ โดยฝ่ายที่เห็นด้วยมองว่า สวนสัตว์เป็นสถานที่ที่มีบทบาทด้านการอนุรักษ์และการวิจัยเกี่ยวกับการอนุรักษ์สัตว์ป่า รวมถึงเป็นสถานที่ให้ความบันเทิงและเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ โดยหลายหน่วยงานพยายามออกกฎระเบียบเพื่อให้สัตว์ป่ามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ใกล้เคียงกับการอาศัยอยู่ในป่ามากยิ่งขึ้น (แม้จะยังห่างไกลกับอิสรภาพในการอาศัยอยู่ในป่าก็ตาม) ขณะที่ฝ่ายไม่เห็นด้วยมองว่า สวนสัตว์เป็นการละเมิดสวัสดิภาพสัตว์ ผ่านการกักขังสัตว์เหล่านั้นไว้ในพื้นที่ที่จำกัด ก่อให้สัตว์เกิดความเครียดและความเบื่อหน่าย

รู้ทัน SROI – ตัวเลขที่น่า “ถูกใจ” แต่อาจไม่ช่วยตัดสินใจเรื่องผลลัพธ์ทางสังคมอย่าง “ถูกต้อง”

/

ในช่วงที่ผ่านมาการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return on Investment) หรือ SROI ได้กลายเป็นกระบวนการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่ประเทศไทยให้ความสนใจและนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ SROI อาจจะไม่ใช่เครื่องมือที่เหมาะกับทุกคน หรือกับโครงการหรือองค์กรทุกรูปแบบ บทความนี้จึงอยากชวนทุกท่านมารู้จัก SROI ให้มากขึ้น โดยเฉพาะในมุมที่มีความท้าทายหรือคนมักเข้าใจผิด

เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน นวัตกรรมที่ยังไม่ตอบโจทย์

/

เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage หรือ CCS) กลายเป็นศัพท์ยอดนิยมในแวดวงบริษัทน้ำมันทั่วโลก เทคโนโลยีดังกล่าวเกิดขึ้นด้วยแนวคิดแบบตรงไปตรงมาว่าหากต้องการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเนื่องจากปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศที่มากเกินกว่าระดับที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีดังกล่าวแพงเกินไป ช้าเกินไป อีกทั้งยังไม่จูงใจให้เราลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหา

โรคอัลไซเมอร์กับต้นทุนที่มองไม่เห็น

/

ทุกวันนี้จำนวนผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์หรือโรคสมองเสื่อมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยปัจจัยหลักที่ทำให้จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเกิดจากการเติบโตของประชากรและจำนวนประชากรผู้สูงอายุในประเทศต่างๆ ซึ่งการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยอัลไซเมอร์ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยนั้นได้แสดงให้เห็นถึงต้นทุนทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่อาจถูกแบกรับมากขึ้นในอนาคต เนื่องจากโรคอัลไซเมอร์เป็นหนึ่งในโรคที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง และนอกจากกระทบตัวผู้ป่วยแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชน และสังคมได้อีกด้วย

#Metoo ที่ต้องมีทุกคน: ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศในกลุ่มแรงงานชายขอบ

/

ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา การล่วงละเมิดทางเพศกลายเป็นประเด็นร้อนแรงขึ้นมาหลังจากเกิดเรื่องอื้อฉาวขึ้นในวงการบันเทิงยักษ์ใหญ่อย่างฮอลลีวูด จนทั้งโลกหันมาสนใจและเกิดกระแส #Metoo ขึ้นในโลกออนไลน์ โดยเหยื่อทั้งผู้หญิง ผู้ชาย และเพศอื่น ๆ ต่างออกมาโพสต์ติดแฮชแท็กอย่างอึกทึกครึกโครม ทั้งออกมาเล่าประสบการณ์ที่ตนเคยเผชิญ ให้กำลังใจเหยื่อ โจมตีผู้ล่วงละเมิด ถกเถียงแลกเปลี่ยน และวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ นานา

เงินเฟ้อกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

/

หลายคนคงทราบดีว่าสาเหตุสำคัญของภาวะเงินเฟ้อสูงในปัจจุบันคือสงครามรัสเซีย-ยูเครน สองประเทศเป็นผู้เล่นสำคัญในตลาดน้ำมัน ปุ๋ยเคมี ธัญพืช และสารพัดสินค้าโภคภัณฑ์สำคัญของโลก แต่ทราบไหมครับว่าสองสามปีก่อนหน้านี้ราคาสินค้ากลุ่มอาหาร อาทิ ข้าวสาลี แอปเปิล กาแฟ และช็อกโกแลต ต่างก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยมีสาเหตุสำคัญจากภัยแล้งในทวีปแอฟริกา เอเชีย และอเมริกา ส่งผลให้พืชผลเสียหายจนปริมาณสินค้าที่วางขายในตลาดโลกลดฮวบ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ถูกมองข้าม แต่อาจทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้นในระยะยาว

มนุษย์กับการกดขี่ขูดรีดในอุตสาหกรรมปศุสัตว์

/

มนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม และทุกสรรพสิ่งอย่างแยกไม่ออก โดยในบรรดาสรรพสิ่งที่มนุษย์มีความสัมพันธ์ด้วย สัตว์น่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่ได้รับผลกระทบทางลบจากมนุษย์มากที่สุด อันเนื่องมาจากตรรกะของมนุษย์ที่มองว่าสถานะของตนสูงส่งกว่าสัตว์ นำมาซึ่งการที่มนุษย์ควบคุม จัดการ ใช้งาน ทรมาน กดขี่และขูดรีดสัตว์อย่างชอบธรรม

หน้าที่ 2 จาก 1412345...10...Last »