Author: รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์

ไขศักยภาพพลังงานหมุนเวียนด้วยนวัตกรรมทางการเงิน

/

หากมองในมุมของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ ต้นทุนในการทำธุรกรรมปล่อยสินเชื่อโครงการพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กนั้นไม่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายแถมยังใช้เวลาคืนทุนที่ยาวนาน โครงการเช่นนี้จึงจัดเป็นโครงการประเภทที่มีความเสี่ยงสูงและผลตอบแทนต่ำอย่างยิ่ง เหล่านายธนาคารจึงมองหาทางเลือกอื่นที่ผลตอบแทนดีกว่า

ทำไม ‘ไฮโดรเจน’ จึงสำคัญต่อเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ

/

คงไม่ผิดนักหากจะเรียกไฮโดรเจนว่าเชื้อเพลิงมหัศจรรย์ เพราะการเผาไหม้โดยตรงของเชื้อเพลิงไฮโดรเจนนั้นไม่ปล่อยมลภาวะ ยิ่งถ้าอยู่ในรูปแบบของเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) ผลลัพธ์ของกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าก็คือน้ำจืด เทคโนโลยีการผลิตไฮโดรเจนและเซลล์เชื้อเพลิงเกิดขึ้นมาหลายทศวรรษ โดยในอดีตไฮโดรเจนก็เคยได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘พลังงานแห่งอนาคต’ แต่เมื่อไหร่ ‘อนาคต’ ที่ว่าจะมาถึงเสียที?

อุตสาหกรรมแร่หายากจะยั่งยืนได้อย่างไร?

/

ทั่วโลกต่างเห็นเป้าหมายเดียวกันคือความพยายามจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม การบรรลุเป้าหมายนั้นคือการทำทุกวิถีทางเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ แต่การเปลี่ยนผ่านดังกล่าวต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมสำคัญนั่นคือแร่หายาก (rare earth elements) ซึ่งกระบวนการทำเหมือนสร้างผลกระทบทั้งทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมหาศาล จึงนับเป็นโจทย์สำคัญว่าจะทำให้อุตสาหกรรมดังกล่าวยั่งยืนได้อย่างไร

วิกฤติโลกร้อนถูกมองข้าม เพราะสารพัดปัญหาเร่งด่วนในปัจจุบัน

/

ปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อมอาจซ้อนทับจนนำไปสู่การแย่งชิงทรัพยากรระหว่างประเทศในอนาคตไม่ว่าจะเป็นอาหาร น้ำสะอาด เชื้อเพลิง และแร่หายาก ที่ความต้องการมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามจำนวนประชากรโลก แต่ในขณะเดียวกัน ทรัพยากรเหล่านั้นก็มีอยู่อย่างจำกัดและมีแนวโน้มผลิตได้น้อยลงเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองและวิกฤติภูมิอากาศ ช่องว่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานอาจนำไปสู่ ‘วิกฤติซ้อนวิกฤติ’ ที่ยากจะแก้ไข

‘กองทุนชดเชยความสูญเสียและเสียหาย’ ความก้าวหน้าครั้งใหญ่จากเวที COP27

/

แม้จะมีความท้าทายและความไม่แน่นอนมากมาย แต่ความสำเร็จในการจัดตั้งกองทุนชดเชยความสูญเสียและเสียหายครั้งนี้ก็นับเป็นก้าวสำคัญ เนื่องจากคนจำนวนไม่น้อยต่างมองว่านี่คือ 1 ใน 3 เสาหลักสำคัญในการรับมือภาวะโลกร้อนซึ่งประกอบด้วย 1) การลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก 2) การปรับตัวรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ 3) การชดเชยความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน นวัตกรรมที่ยังไม่ตอบโจทย์

/

เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage หรือ CCS) กลายเป็นศัพท์ยอดนิยมในแวดวงบริษัทน้ำมันทั่วโลก เทคโนโลยีดังกล่าวเกิดขึ้นด้วยแนวคิดแบบตรงไปตรงมาว่าหากต้องการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเนื่องจากปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศที่มากเกินกว่าระดับที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีดังกล่าวแพงเกินไป ช้าเกินไป อีกทั้งยังไม่จูงใจให้เราลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหา

เงินเฟ้อกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

/

หลายคนคงทราบดีว่าสาเหตุสำคัญของภาวะเงินเฟ้อสูงในปัจจุบันคือสงครามรัสเซีย-ยูเครน สองประเทศเป็นผู้เล่นสำคัญในตลาดน้ำมัน ปุ๋ยเคมี ธัญพืช และสารพัดสินค้าโภคภัณฑ์สำคัญของโลก แต่ทราบไหมครับว่าสองสามปีก่อนหน้านี้ราคาสินค้ากลุ่มอาหาร อาทิ ข้าวสาลี แอปเปิล กาแฟ และช็อกโกแลต ต่างก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยมีสาเหตุสำคัญจากภัยแล้งในทวีปแอฟริกา เอเชีย และอเมริกา ส่งผลให้พืชผลเสียหายจนปริมาณสินค้าที่วางขายในตลาดโลกลดฮวบ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ถูกมองข้าม แต่อาจทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้นในระยะยาว

รู้จัก ‘สิทธิที่จะซ่อม’ กระแสเรียกร้องที่ดีต่อโลกและดีต่อเรา

/

เป้าหมายของการเรียกร้องสิทธิที่จะซ่อมนั้นก็แสนจะตรงไปตรงมา คือต้องการให้บริษัทผู้ผลิตมีอะไหล่และเครื่องมือพร้อมจำหน่ายอยู่เสมอ เช่นเดียวกับเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็นในการซ่อมแซมแก่ผู้บริโภคและร้านซ่อมแซมอิสระเพื่อไม่ให้ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ต้องไปจบชีวิตในกองขยะก่อนวันเวลาอันควร

มีอะไรในรายงานฉบับล่าสุดของ IPCC?

/

เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หรือ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) ได้เผยแพร่รายงานฉบับใหม่ว่าด้วยผลกระทบ การปรับตัว และความเปราะบาง ซึ่งเป็นส่วนที่สองของรายงานการประเมินครั้งที่ 6 (sixth assessment report) พร้อมกับเตือนว่าการดำเนินการแก้ไขปัญหาและปรับตัวรับมือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ล่าช้าอาจทำให้สูญเสียโอกาสที่จะรักษาอนาคตที่ยั่งยืนไว้ให้ลูกหลานของเรา

ประเทศไทยอยู่ตรงไหนในวิกฤติภูมิอากาศ?

/

หากคุณคิดว่าผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังมาไม่ถึงเมืองไทย คุณกำลังเข้าใจผิดครับ ประเทศไทยร้อนขึ้นมากในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาโดยเฉพาะในเขตเมืองที่เกิดปรากฏการณ์เกาะความร้อน (Heat Island) ส่วนในแง่ของภัยพิบัติทางธรรมชาติ เรื่องที่น่ากังวลมากที่สุดคืออุทกภัยซึ่งประเทศไทยเสี่ยงเป็นอันดับที่ 9 ของโลก วิกฤติโควิด-19 คือโอกาสที่หลายประเทศใช้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม น่าเสียดายที่ประเทศไทยเดินหน้าอย่างไร้ยุทธศาสตร์จึงทำให้พลาดโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย

หน้าที่ 1 จาก 512345