Author: สฤณี อาชวานันทกุล

โครงการวิจัย “ธรรมเนียมปฏิบัติด้านแรงงานที่รับผิดชอบในห่วงโซ่อุปทานเกษตรในไทย”

/

โครงการวิจัย “ธรรมเนียมปฏิบัติด้านแรงงานที่รับผิดชอบในห่วงโซ่อุปทานเกษตรในไทย” และร่วมหารือกับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

Fair Finance Thailand 2018

ผลการประเมินธนาคารพาณิชย์ไทยตามเกณฑ์ Fair Finance Guide International ประจำปี พ.ศ. 2561

/

ผลการประเมินธนาคารพาณิชย์ไทยตามเกณฑ์ Fair Finance Guide International ประจำปี พ.ศ. 2561 โดย แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย (Fair Finance Thailand)

Social Impact Explorer

โครงการวิจัย “การออกแบบระบบการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม สำหรับโครงการนวัตกรรมด้านสังคมที่ได้รับการสนับสนุน” (2561) และโครงการพัฒนาเครื่องมือเรียนรู้ออนไลน์ (2562)

/

สนช. มอบหมายให้ บริษัท ป่าสาละ จำกัด ร่วมกับ สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศึกษากระบวนการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (social impact assessment) และตัวชี้วัดทางสังคม (social indicators) ที่เหมาะสม เพื่อเป็นเครื่องมือประกอบการพิจารณาการตัดสินให้ทุนสนับสนุนนวัตกรรมทางสังคม การติดตามโครงการ การปรับปรุงการสนับสนุนโครงการ และการรายงานผลของโครงการต่อผู้ให้งบประมาณ และเพื่อเข้าใจความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมของกิจกรรมต่างๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์นวัตกรรมเพื่อสังคม

EITI summary

สไลด์สรุปผลการวิจัย “การศึกษาแนวทางสร้างการมีส่วนร่วมของตัวแทนภาคประชาสังคม ในโครงการ Extractive Industries Transparency Initiative (EITI) ประเทศไทย”

/

สไลด์สรุปผลการวิจัย โครงการ “การศึกษาแนวทางสร้างการมีส่วนร่วมของตัวแทนภาคประชาสังคม ในโครงการ Extractive Industries Transparency Initiative (EITI) ประเทศไทย”

EITI report

รายงานวิจัย “การศึกษาแนวทางสร้างการมีส่วนร่วมของตัวแทนภาคประชาสังคม ในโครงการ Extractive Industries Transparency Initiative (EITI) ประเทศไทย”

/

รายงานวิจัย “การศึกษาแนวทางสร้างการมีส่วนร่วมของตัวแทนภาคประชาสังคม ในโครงการ Extractive Industries Transparency Initiative (EITI) ประเทศไทย”

โครงการวิจัย “การศึกษาแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมของตัวแทนภาคประชาสังคม ในโครงการ Extractive Industries Transparency Initiative (EITI) ประเทศไทย”

/

บริษัท ป่าสาละ จำกัด ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ดำเนินโครงการวิจัย “การศึกษาแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมของตัวแทนภาคประชาสังคม ในโครงการ Extractive Industries Transparency Initiative (EITI) ประเทศไทย” เพื่อศึกษาแนวทางและทดลองปฏิบัติเพื่อการสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคประชาสังคม (อาทิ องค์กรพัฒนาเอกชน และชุมชนท้องถิ่น) ที่มีความตื่นตัวและแสดงเจตจำนงที่จะร่วมกระบวนการคัดเลือกตัวแทน EITI ตลอดจนกำหนดโครงสร้างและกระบวนการเลือกตั้งตัวแทน EITI ภาคประชาสังคมที่เหมาะสมเพื่อเข้าร่วมกลไกดังกล่าว

โครงการวิจัย “อุตสาหกรรมไฮเปอร์มาร์เก็ตและการประเมินตามเกณฑ์ Oxfam”

/

โครงการวิจัย “อุตสาหกรรมไฮเปอร์มาร์เก็ตและการประเมินตามเกณฑ์ Oxfam” โดย บริษัท ป่าสาละ จำกัด ได้รับมอบหมายจาก อ็อกแฟม (ประเทศไทย) วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้ คือ 1. สำรวจและวิเคราะห์ผู้เล่นชั้นนำในอุตสาหกรรมไฮเปอร์มาร์เก็ต (hypermarkets) ในไทย เน้นแผนกอาหารสด 2. ประเมินไฮเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำโดยเกณฑ์การประเมิน Food Retailers Accountability Tool ของ Oxfam GB

กรอบการบริหารจัดการความเสี่ยง ESG

ธนาคารระดับโลกจัดการความเสี่ยง ESG เพราะอะไร?

/

วันนี้ในระดับสากล ความเข้าใจและจริงใจของธนาคารในการเปลี่ยนเส้นทางสู่ธนาคารที่ยั่งยืน ในแง่ของการปล่อยสินเชื่อธุรกิจ จะดูจากสองเรื่องด้วยกัน คือ หนึ่ง การออกและบังคับใช้นโยบายสินเชื่อ (credit policy) ที่ชัดเจน คำนึงถึงความเสี่ยงด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล (Environment, Social & Governance ย่อว่า ความเสี่ยง ESG) มีรายการธุรกิจความเสี่ยง ESG สูงที่ธนาคารจะไม่สนับสนุน (exclusion list) และสอง การบูรณาการกระบวนการประเมินความเสี่ยง ESG เข้าไปในกระบวนการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร ไม่ใช่ดูแค่ว่าลูกค้าปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่ เพราะกฎหมายตามความเสี่ยง ESG ไม่ทัน

สถานการณ์ “ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่รับผิดชอบ” ในไทย ณ ต้นปี 2562

/

สามปีแล้วหลังจากที่โครงการวิจัย “เหตุผลทางธุรกิจของการธนาคารที่ยั่งยืนในประเทศไทย” สรุป “เหตุผลทางธุรกิจ” หรือ business case ของการเข้าสู่วิถีการธนาคารที่ยั่งยืนของธนาคารพาณิชย์ไทย วันนี้ผู้เขียนอยากย้อนกลับไปสรุปเหตุผลทางธุรกิจสั้นๆ ของการทำธุรกิจธนาคารอย่างรับผิดชอบ และสรุปสั้นๆ ว่าสถานการณ์ปัจจุบันในประเทศไทยเป็นอย่างไร ณ ต้นปี พ.ศ. 2562

โครงการวิจัย “การประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในไทย กรณีศึกษา จ.น่าน และ จ.เชียงใหม่”

/

ผู้วิจัยพยายามประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นระหว่างปี 2557-2560 ของ “โครงการเปลี่ยนผ่านการปลูกข้าวโพด (post-maize transition projects)” ซึ่งได้แก่โครงการต่างๆ ที่มุ่งจะช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดลดและเลิกการปลูกพืชไร่ชนิดนี้ โดยเน้นที่โครงการที่มีการเข้าร่วมอย่างมีนัยสำคัญของบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์รายใหญ่ พบว่า การเผาตอซังข้าวโพดน่าจะลดลงมากในทุกพื้นที่โครงการ พื้นที่ที่มีป่าปกคลุมไม่ได้เพิ่มขึ้น ราคาข้าวโพดที่ตกต่ำอย่างมีนัยสำคัญช่วยสร้างแรงจูงใจให้ชาวบ้านเลิกปลูกข้าวโพด แต่ภาระหนี้สินของเกษตรกรยังคงมีอยู่อยู่ในระดับสูง เกษตรกรในโครงการเหล่านี้มีแหล่งรายได้ทางเลือกทีมีแนวโน้มดี แต่จะมีผลที่เป็นรูปธรรมต่อการดำรงชีวิตอย่างไรนั้นยังต้องรอดูต่อไป ดังนั้นเกษตรกรจำนวนมากจึงยังคงต้องพึ่งข้าวโพดเป็นรายได้หลัก และสุดท้าย “หลักประกันสิทธิในที่ดิน” และ “ตลาด/ผู้ซื้อที่พร้อมรับซื้อ” มีความสำคัญสำหรับความมั่นคงในการดำรงชีวิตของเกษตรกร

หน้าที่ 3 จาก 712345...Last »