Tag: climate change

เส้นทางสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ: บทเรียนจากเทศถึงไทย

/

การออกเดินบนเส้นทางสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำที่แท้จริงในความเห็นของผู้เขียน ต้องเริ่มต้นจากการหมั่นทบทวนประมาณการปล่อยคาร์บอนให้สมเหตุสมผล สะท้อนสภาพความเป็นจริงมากขึ้น ไม่เฉพาะแต่ภาคพลังงานแต่รวมถึงภาคส่วนอื่นๆ ด้วย ควบคู่ไปกับการเริ่มออกแบบ ‘แผนการเปลี่ยนโครงสร้างพลังงาน’ ลดการใช้และการอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ไม่หักดิบ ไม่ปฏิเสธทางเลือกใดๆ โดยเฉพาะทางเลือกที่ได้รับการพิสูจน์ทั่วโลกแล้วว่าคุ้มค่ามากในแง่ต้นทุนเทียบกับประโยชน์

กินมังฯ ทำไม ?

/

นั่นสิครับ เรากินมังสวิรัติทำไม เหตุผลแรกอาจเพื่อลดการทรมาณสัตว์ในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ เหตุผลที่สองคือการรักษาสุขภาพ และในบทความนี้ ผู้เขียนจะพาไปสำรวจเหตุผลที่สาม คือกินมังสวิรัติเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

จุดจบหรือจุดเริ่มต้นของซูเปอร์ไซเคิลราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (?)

/

ตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา ราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลายประเภทไม่ว่าจะเป็น อาหาร น้ำมัน ถ่านหิน สินค้าทางการเกษตร เริ่มอ่อนตัวลงมาเรื่อยๆ แบบไม่มีท่าทีว่าจะหยุด ทำให้ผู้บริหารบริษัทบางแห่งต่างพากันเริ่มยิ้มแย้มดีใจ แต่แล้ว McKinsey บริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจระดับโลก กลับออกมาบอกว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงหรือผันผวนมากขึ้นไปอีก

ปรับพฤติกรรม รับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

/

เราเห็นข่าวแทบทุกวันถึงเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ คลื่นความร้อนและความเย็นที่ทำให้อากาศแปรปรวนแบบคาดเดาไม่ได้ ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจนบางเกาะที่เคยมีอยู่เริ่มจมหาย สัตว์หลายชนิดสูญพันธุ์ หากเราเป็นมนุษย์ที่ขับเคลื่อนโดยตรรกะและเหตุผล พวกเราคงต้องทำทุกวิธีเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ภาพดังกล่าวยังดูห่างไกลจากความเป็นจริงคำถามที่เราต้องหาคำตอบคือทำไม และปัจจัยใดที่จะสนับสนุนให้เราเปลี่ยนพฤติกรรม

สิทธิสตรี กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

/

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนับวันจะชัดเจนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างรู้สึกได้ ความเป็นกรดในมหาสมุทร และภัยธรรมชาติที่เกิดบ่อยครั้งและรุนแรงยิ่งขึ้น แต่หากจะบอกว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกี่ยวโยงกับสิทธิสตรีด้วย หลายคนคงจะสงสัย เพราะดูเป็นประเด็นที่ไม่น่าจะมาเกี่ยวข้องกันได้ ทั้งๆ ที่จริงๆ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก

Rachel Notley ผู้ว่าการมลรัฐอัลเบอร์ตา ที่มาภาพ: http://www.nationalobserver.com/2016/01/07/news/path-albertas-climate-deal

“เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” ในฐานะ “จริยธรรมสากล” และบทเรียนจากแคนาดา

/

ความคิดใหญ่ๆ อย่าง SDGs นั้นฟังดูดี แต่ “รูปธรรม” ในทางปฏิบัตินั้นยากเย็นไม่น้อย โดยเฉพาะการจะต้องนำมาปรับเปลี่ยนนโยบายการพัฒนาระดับชาติในเรื่องที่มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ต่ำกว่าหลายแสนล้านบาทต่อปี การเปลี่ยนแปลงชนิด “180 องศา” ของมลรัฐอัลเบอร์ตา (Alberta) ประเทศแคนาดา เจ้าของขุมทรัพย์ทรายน้ำมัน (oil sands) จึงเป็นบทเรียนสำคัญที่ทั่วโลกควรศึกษา รวมทั้งไทยด้วย

หน้าที่ 2 จาก 212