Tag: ป่าสาละ

B Talk ครั้งที่ 6 Social Enterprise: FAQs

/
ไขข้อข้องใจกิจการเพื่อสังคม ปัจจุบันคำว่ากิจการเพื่อสังคมได้รับความสนใจจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม จนใครๆ ก็พยายามติดป้ายว่าตัวเองเป็น ‘กิจการเพื่อสังคม’ แต่หัวใจของกิจการเพื่อสังคมคืออะไร แตกต่างจาก CSR หรือไม่...
วิทยากรร่วมเสวนา "ธุรกิจยึดจริยธรรมและธุรกิจที่ยั่งยืนในไทย"

ธุรกิจยึดจริยธรรมและธุรกิจที่ยั่งยืน (2) : แนวโน้มในประเทศไทย

/

การดำเนินธุรกิจโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นความเสี่ยงต่อชื่อเสียงของบริษัท หลายประเทศยังมีนโยบายปฏิเสธการรับซื้อสินค้าที่อาจมีวัตถุดิบปนเปื้อน ละเมิดสิทธิมนุษยชน และใช้ทรัพยากรอย่างไม่ยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานอีกด้วย ผลกระทบเชิงลบดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจในประเทศไทยไม่ควรละเลย และควรมีการร่วมกันคิดหาทางออกที่ยั่งยืนต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง

ธุรกิจยึดจริยธรรมและธุรกิจที่ยั่งยืน (1) : ภาพรวมจากบริบทโลก

/

ปัจจุบัน โลกเผชิญความท้าทายและภัยคุกคามมากมายเกินกว่าที่ภาครัฐเพียงลำพังจะสามารถรับมือได้ ปัญหาเหล่านี้ภาคธุรกิจย่อมมีส่วนรับผิดชอบในฐานะผู้ก่อปัญหา แต่ในทางกลับกัน ภาคธุรกิจก็สามารถเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ ผ่านการร่วมมือเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับมหภาค

ร่วมรักและร่วมสร้างคุณค่าให้สังคม…ด้วยถุงยางอนามัย

/

การร่วมมือกันครั้งนี้ ทำให้สวิงมีถุงยางอนามัยไปทำกิจกรรมและสร้างผลลัพธ์ทางสังคม โดยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคจากเพศสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อนพนักงานบริการชาย ส่วนบริษัทก็ได้ศึกษาลูกค้ากลุ่มใหม่ รวมถึงได้นำข้อมูลจากการวิจัยตลาดของลูกค้ากลุ่มนี้ ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างความได้เปรียบให้กับบริษัทได้ ทุกฝ่ายจึงได้ประโยชน์ไปพร้อมๆ กัน

DIB talk

DIB Talk (Do It Better Talk) ครั้งที่ 1 – 18 ต.ค. 57

/

ในฐานะคนตัวเล็กๆ เราจะทําอะไรดีๆ ให้โลกได้บ้าง ถ้าคุณเคยตั้งคําถามนี้กับตัวเอง ป่าสาละชวนลองหาคําตอบจากคน 5 อาชีพที่ลงมือเปลี่ยนโลกด้วยวิถีของพวกเขาในงาน
DIB TALK ครั้งที่ 1 เสาร์ที่ 18 ตุ.ค. 57 เวลา 13:00-18:00 น. ณ ห้องประชุมวิวัฒนไชย A ตึกไทยซัมมิท ถ. เพชรบุรีตัดใหม่ (MRT เพชรบุรี)

Bonsucro: มาตรฐานเพื่อความหวานอย่างยั่งยืน

/

อ้อยเป็นหนึ่งในพืชเชิงเดี่ยวที่จำเป็นต้องใช้พื้นที่เพาะปลูกมาก และจำเป็นต้องใช้น้ำสูง การเพาะปลูกอ้อยยังเริ่มรุกล้ำเข้าไปในผืนป่าอนุรักษ์และพื้นที่สูงชัน ก่อให้เกิดการพังทลายของหน้าดิน การใช้สารเคมีที่มากขึ้น และมลภาวะจากโรงงานผลิตน้ำตาลก็ทำให้น้ำเน่าเสีย สิ่งเหล่านี้อาจทิ้ง ‘รสขม’ ระหว่างทาง ก่อนจะเปลี่ยนเป็นความหวานเพื่อส่งถึงมือผู้บริโภค

หน้าที่ 1 จาก 11