Blog

รถเมล์ร้อนจงหมดไป: การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจากอากาศที่ร้อนจัด

/

บนท้องถนนในกรุงเทพมหานครเต็มไปด้วยยวดยานพาหนะนานาชนิด ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคล แท็กซี่ รถสามล้อ จักรยานยนต์ จักรยาน ตลอดจนรถเมล์ หนึ่งในขนส่งสาธารณะที่มักถูกพูดถึงและเป็นที่ถกเถียงอย่างมากโดยเฉพาะประเด็นเรื่องคุณภาพและการพัฒนา ไล่ตั้งแต่สภาพรถ คุณภาพการบริการของพนักงาน หรือการคาดเดาไม่ได้ของตารางการเดินรถ

ภาวะอดอยาก: ปัญหาและทางออก

/

โครงการอาหารโลก (World Food Program: WFP) เผยข้อมูลที่น่าตกใจว่า ในปี 2022 ผู้คนที่เผชิญกับภาวะอดอยากมีจำนวนมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โดยพบว่ามีผู้คนกว่า 828 ล้านคนทั่วโลกที่ต้องเข้านอนพร้อมกับความหิวโหย สาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้เกิดวิกฤตการณ์ดังกล่าวมีมากมาย ไล่ตั้งแต่ ปัญหาความขัดแย้ง ตัวอย่างเช่น สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่บีบบังคับให้ผู้คนต้องอพยพย้ายถิ่นและสูญเสียรายได้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทำลายชีวิตและผลผลิตของผู้คน สภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกจากการระบาดของโรคโควิด 19 ตลอดจนปัญหาสำคัญอย่างความเหลื่อมล้ำของประชากรโลก

วิกฤติโลกร้อนถูกมองข้าม เพราะสารพัดปัญหาเร่งด่วนในปัจจุบัน

/

ปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อมอาจซ้อนทับจนนำไปสู่การแย่งชิงทรัพยากรระหว่างประเทศในอนาคตไม่ว่าจะเป็นอาหาร น้ำสะอาด เชื้อเพลิง และแร่หายาก ที่ความต้องการมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามจำนวนประชากรโลก แต่ในขณะเดียวกัน ทรัพยากรเหล่านั้นก็มีอยู่อย่างจำกัดและมีแนวโน้มผลิตได้น้อยลงเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองและวิกฤติภูมิอากาศ ช่องว่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานอาจนำไปสู่ ‘วิกฤติซ้อนวิกฤติ’ ที่ยากจะแก้ไข

สามประเด็นร้อน ESG ปี 2566

/

ในเมื่อวันนี้ว่ากันว่าเราอยู่ในยุคแห่งความยั่งยืน ศักราชแห่งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมเข้าสู่ “สังคมคาร์บอนต่ำ” ส่วนรัฐบาลไทยก็ชู “BCG Model” เป็นแบบจำลองหลักในการพัฒนาประเทศ ผู้เขียนคิดว่าน่าจะประเดิมคอลัมน์ “สำนึกใหม่” ในปีกระต่าย 2566 ด้วยการเขียนถึง 3 ประเด็นเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social, Governance เรียกรวมๆ ว่า ESG) ในภาคธุรกิจไทยที่เห็นว่าจะเป็นประเด็นใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ใน 2-3 ปีนี้

‘กองทุนชดเชยความสูญเสียและเสียหาย’ ความก้าวหน้าครั้งใหญ่จากเวที COP27

/

แม้จะมีความท้าทายและความไม่แน่นอนมากมาย แต่ความสำเร็จในการจัดตั้งกองทุนชดเชยความสูญเสียและเสียหายครั้งนี้ก็นับเป็นก้าวสำคัญ เนื่องจากคนจำนวนไม่น้อยต่างมองว่านี่คือ 1 ใน 3 เสาหลักสำคัญในการรับมือภาวะโลกร้อนซึ่งประกอบด้วย 1) การลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก 2) การปรับตัวรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ 3) การชดเชยความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การเอารัดเอาเปรียบแรงงานผู้สร้าง (บอล) โลก 2022

/

เทศกาลกีฬาที่ได้รับความนิยมสูงอย่างฟุตบอลโลกครั้งที่ 22 กำลังจะเริ่มขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้า โดยมีประเทศกาตาร์รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพการแข่งขัน นอกเหนือจากความสนุกและน่าตื่นตาตื่นใจของมหกรรมกีฬาที่จัดทุกสี่ปี ฟุตบอลโลกหนนี้ยังมีประเด็นทางสังคมร้อนแรงมากมายที่ถูกกล่าวถึง อาทิ การกล่าวหาว่ามีการทุจริตคอร์รัปชันระหว่างการคัดเลือกเจ้าภาพ สภาพอากาศที่ร้อนจัด ซึ่งไม่เหมาะกับการแข่งขัน รวมถึงสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงานที่เลวร้ายในประเทศเจ้าภาพ ที่ถือว่าเป็นประเด็นร้อนแรงต่อเนื่องมาตั้งแต่ตอนประกาศให้ประเทศกาตาร์เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันบอลโลกครั้งนี้

มลพิษทางเสียงในชุมชนชายขอบ

/

ผลกระทบจากเสียงมีทั้งด้านบวกและด้านลบ เสียงสร้างความสุขให้เราได้ ไล่ตั้งแต่เสียงธรรมชาติ เสียงดนตรีบรรเลง หรือเสียงหัวเราะของลูกน้อย ฉันใดฉันนั้น เสียงก็สร้างความเดือดร้อนรำคาญได้เช่นกัน ตัวอย่างชัดเจน เช่น ในมหานครเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยเสียงรถราบนท้องถนน เสียงอากาศยาน เสียงเครื่องจักรทำงาน เสียงงานสังสรรค์รื่นเริง หรือแม้แต่เสียงโวยวายของผู้คนในหมู่บ้าน เสียงเหล่านี้ หากเป็นเสียงที่ไม่พึงประสงค์ มีระดับความดังสูง และดังต่อเนื่องยาวนาน ก็ถูกจัดว่าเป็นมลพิษทางเสียง

สัตว์ในสวนสัตว์กับสวัสดิภาพที่ควรได้รับ

/

ปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าสมควรมีสวนสัตว์หรือไม่ โดยฝ่ายที่เห็นด้วยมองว่า สวนสัตว์เป็นสถานที่ที่มีบทบาทด้านการอนุรักษ์และการวิจัยเกี่ยวกับการอนุรักษ์สัตว์ป่า รวมถึงเป็นสถานที่ให้ความบันเทิงและเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ โดยหลายหน่วยงานพยายามออกกฎระเบียบเพื่อให้สัตว์ป่ามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ใกล้เคียงกับการอาศัยอยู่ในป่ามากยิ่งขึ้น (แม้จะยังห่างไกลกับอิสรภาพในการอาศัยอยู่ในป่าก็ตาม) ขณะที่ฝ่ายไม่เห็นด้วยมองว่า สวนสัตว์เป็นการละเมิดสวัสดิภาพสัตว์ ผ่านการกักขังสัตว์เหล่านั้นไว้ในพื้นที่ที่จำกัด ก่อให้สัตว์เกิดความเครียดและความเบื่อหน่าย

รู้ทัน SROI – ตัวเลขที่น่า “ถูกใจ” แต่อาจไม่ช่วยตัดสินใจเรื่องผลลัพธ์ทางสังคมอย่าง “ถูกต้อง”

/

ในช่วงที่ผ่านมาการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return on Investment) หรือ SROI ได้กลายเป็นกระบวนการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมที่ประเทศไทยให้ความสนใจและนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ SROI อาจจะไม่ใช่เครื่องมือที่เหมาะกับทุกคน หรือกับโครงการหรือองค์กรทุกรูปแบบ บทความนี้จึงอยากชวนทุกท่านมารู้จัก SROI ให้มากขึ้น โดยเฉพาะในมุมที่มีความท้าทายหรือคนมักเข้าใจผิด

เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน นวัตกรรมที่ยังไม่ตอบโจทย์

/

เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage หรือ CCS) กลายเป็นศัพท์ยอดนิยมในแวดวงบริษัทน้ำมันทั่วโลก เทคโนโลยีดังกล่าวเกิดขึ้นด้วยแนวคิดแบบตรงไปตรงมาว่าหากต้องการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเนื่องจากปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศที่มากเกินกว่าระดับที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีดังกล่าวแพงเกินไป ช้าเกินไป อีกทั้งยังไม่จูงใจให้เราลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหา

หน้าที่ 2 จาก 1512345...10...Last »