รายงาน “การเติบโตของ Fintech กับโอกาสการสร้างเศรษฐกิจที่พัฒนาอย่างทั่วถึง”
การเติบโตของ Fintech กับโอกาสการสร้างเศรษฐกิจที่พัฒนาอย่างทั่วถึง (The Growth of Financial Technology and Its Potential for Inclusive Economy)
โดย สฤณี อาชวานันทกุล และคณะ
การเติบโตของ Fintech กับโอกาสการสร้างเศรษฐกิจที่พัฒนาอย่างทั่วถึง (The Growth of Financial Technology and Its Potential for Inclusive Economy)
โดย สฤณี อาชวานันทกุล และคณะ
สรุปรายงานวิจัย เรื่อง การเติบโตของ Fintech กับโอกาสการสร้างเศรษฐกิจที่พัฒนาอย่างทั่วถึง (The Growth of Financial Technology
and Its Potential for Inclusive Economy) โดย สฤณี อาชวานันทกุล บริษัท ป่าสาละ จำกัด, สิงหาคม 2560 | รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “การจัดทำและเผยแพร่ชุดงานวิจัยเพื่อส่งเสริมการพัฒนา “การธนาคารที่ยั่งยืน”” สนับสนุนโดย มูลนิธิมั่นพัฒนา
การกู้เงินและการเป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องผิด แต่การอ่านเงื่อนไขและรู้จัก #โลกของดอกเบี้ย แต่ละประเภท ทั้งที่มาและวิธีจ่ายหนี้ อาจเพิ่มตัวเลือกและเข้าใจวิธีบริหารหนี้สินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เคยไหมที่คุณเดินเข้าธนาคารไปเพื่อขอสินเชื่อกู้เงินหรือขอทำบัตรเดบิต แต่นายแบงค์เขาว่า ‘อ๊า…อย่างนี้ต้องทำประกันคู่ไปด้วยนะคร๊าบ’ #แบบนี้ก็ได้เหรอ?
เมื่อนั่งอยู่ ณ เคาน์เตอร์ในธนาคาร เป็นธรรมดาที่เราอาจรู้สึกตัวเล็กและคิดว่าต้องทำตามแต่สิ่งที่พนักงานบอกเพียงเท่านั้น แต่ไม่ใช่นะ…เรามีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน และมีสิทธิถามจนกว่าเราจะเข้าใจ
“การธนาคารที่ยั่งยืน” คืออะไร เหตุใดผู้ว่าฯ แบงก์ชาติจึงมองว่าธนาคารต่างๆ ในอาเซียนจะต้องให้ความสำคัญ ทำแล้วธนาคารจะได้ประโยชน์ทางธุรกิจอะไรบ้าง ? หาคำตอบได้ในบทความนี้
บริษัท ป่าสาละ จำกัด ได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิมั่นพัฒนา ให้ดำเนินโครงการวิจัย “”การจัดทำและเผยแพร่ชุดงานวิจัยเพื่อส่งเสริมการพัฒนา “การธนาคารที่ยั่งยืน””” ระยะเวลา 36 เดือน จุดมุ่งหมายสำคัญของโครงการนี้จะมุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้และการเผยแพร่องค์ความรู้ที่สังเคราะห์ได้จากการวิเคราะห์/การวิจัยในประเด็นสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนากระบวนการสร้างการธนาคารที่ยั่งยืนเป็นหลัก โดยมุ่งหวังผลต่อเนื่องว่าหากเกิดชุดองค์ความรู้ มีการแลกเปลี่ยนถกเถียงในเวทีสาธารณะต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นการธนาคารที่ยั่งยืน จะเป็นประโยชน์ในการก่อให้เกิดแรงผลักดัน การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง และเครือข่ายที่สนับสนุนวิถีการธนาคารที่ยั่งยืนในประเทศไทยต่อไป
การดำเนินธุรกิจโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นความเสี่ยงต่อชื่อเสียงของบริษัท หลายประเทศยังมีนโยบายปฏิเสธการรับซื้อสินค้าที่อาจมีวัตถุดิบปนเปื้อน ละเมิดสิทธิมนุษยชน และใช้ทรัพยากรอย่างไม่ยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานอีกด้วย ผลกระทบเชิงลบดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจในประเทศไทยไม่ควรละเลย และควรมีการร่วมกันคิดหาทางออกที่ยั่งยืนต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง
ปัจจุบัน โลกเผชิญความท้าทายและภัยคุกคามมากมายเกินกว่าที่ภาครัฐเพียงลำพังจะสามารถรับมือได้ ปัญหาเหล่านี้ภาคธุรกิจย่อมมีส่วนรับผิดชอบในฐานะผู้ก่อปัญหา แต่ในทางกลับกัน ภาคธุรกิจก็สามารถเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ ผ่านการร่วมมือเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับมหภาค
ในแต่ละวัน คุณได้เห็นหรือได้ยินคำว่า “ความยั่งยืน” กี่ครั้ง แล้วเราเข้าใจความหมายของ “ความยั่งยืน” ถูกต้องแล้วหรือยัง ป่าสาละชวนมาคุยกับสองผู้ก่อตั้งบริษัทป่าสาละ สฤณี อาชวานันทกุล และภัทราพร แย้มละออ เพื่อคลายข้อสงสัยในประเด็นด้านความยั่งยืน