Tag: sustainable SMEs
กรณีศึกษา#10 บริษัท ซาเรี่ยน จำกัด – การบริหารทรัพยากรบุคคลของเอสเอ็มอีในประเทศไทย ที่มีวิธีคิด นโยบายและวิถีปฏิบัติด้านความยั่งยืน
ด้วยแรงกดดันจากลูกค้า ซาเรี่ยน ผู้ผลิตจิวเวลรี่ชั้นสูงให้กับแบรนด์ทั่วโลกจึงต้องเข้าสู่มาตรฐานความยั่งยืน แม้ว่าจะมีข้อสงสัยว่า “ความยั่งยืน” นั้นเป็นแค่เครื่องมือทางการตลาดหรือการกีดกันทางการค้า แต่บริษัทให้ความสำคัญกับการบริหารพนักงานด้วย “ใจ” มากกว่าการใช้มาตรฐาน ดูแลพนักงานให้กินดี อยู่ดี และมีความสุขมากกว่า ซึ่งที่ผ่านมาช่วยส่งผลให้ธุรกิจดำเนินไปได้ดี และรักษาช่างฝีมือให้อยู่ด้วยกันได้นับสิบปี ท่ามกลางตลาดแรงงานที่แข่งขันสูงมาก
กรณีศึกษา#9 บริษัท พีซรีสอร์ท จำกัด – การบริหารทรัพยากรบุคคลของเอสเอ็มอีในประเทศไทย ที่มีวิธีคิด นโยบายและวิถีปฏิบัติด้านความยั่งยืน
โรงแรมเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงที่สุดบนเกาะสมุย ทั้งในแง่ของการขายห้องพักและการสรรหาพนักงาน แต่พีซรีสอร์ท (Peace Resort) ก็สามารถแข่งขันได้ดีโดยใช้ “สีเขียว” เป็นหนึ่งในจุดขาย เพื่อขับเคลื่อนงานด้านสิ่งแวดล้อม พีซรีสอร์ทจัดตั้ง Green Team ขึ้นเพื่อเป็นทีมเฉพาะหลักในการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยประกอบไปด้วยพนักงานจากทุกแผนกรวมถึงแผนกทรัพยากรบุคคล เรื่องราวของงานด้านสิ่งแวดล้อมถูกสื่อสารสู่พนักงานใหม่ตั้งแต่ในวันปฐมนิเทศ และถูกบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของกฎเกณฑ์ในการทำงาน
กรณีศึกษา#8 หจก. สมุยอักษร – การบริหารทรัพยากรบุคคลของเอสเอ็มอีในประเทศไทย ที่มีวิธีคิด นโยบายและวิถีปฏิบัติด้านความยั่งยืน
นอกจากจะเป็นโรงพิมพ์ขนาดใหญ่ที่สุดและให้บริการด้านการพิมพ์ครบวงจรมากที่สุดในเกาะสมุย หจก. สมุยอักษรยังให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ ควบคู่ไปกับการขยายธุรกิจโดยเฉพาะการจัดการขยะและการบำบัดน้ำเสีย ที่ได้ขยายผลไปสู่ชุมชนต่อ แนวคิดเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อมของที่นี่ถูกปลูกฝังให้พนักงานผ่านกฎเกณฑ์ในการทำงาน รวมถึงการพิจารณาโบนัส ผ่านวัฒนธรรมองค์กรที่ใกล้ชิดแบบครอบครัว และมีสวัสดิการที่เผื่อแผ่ไปถึงครอบครัวพนักงาน
กรณีศึกษา#7 บริษัท นิธิฟู้ดส์ จำกัด – การบริหารทรัพยากรบุคคลของเอสเอ็มอีในประเทศไทย ที่มีวิธีคิด นโยบายและวิถีปฏิบัติด้านความยั่งยืน
ในฐานะโรงงานผลิตอาหารขนาดกลางที่มุ่งสร้างนวัตกรรมเพื่อเป็นองค์กร “เกษตรสร้างสรรค์” ที่ต้องตอบโจทย์มาตรฐานความยั่งยืนที่ลูกค้าระดับโลกเรียกร้อง นิธิฟู้ดส์ยังต้องแข่งขันเพื่อแย่งแรงงานในภาคอุตสาหกรรม จึงไม่ได้มองหาว่าที่พนักงานที่ต้องใส่ใจเรื่องความยั่งยืน แต่มองหาคนที่ต้องการ “กลับบ้าน” มาทำงานเพื่อสร้างคุณค่าให้ตนเองและครอบครัว รวมถึงไม่เน้นแข่งค่าตอบแทนด้วย “เงิน” แต่แข่งด้วยการดูแลพนักงานที่ดีและสวัสดิการมากมาย
กรณีศึกษา#6 บริษัท ฮาร์โมนี ไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด – การบริหารทรัพยากรบุคคลของเอสเอ็มอีในประเทศไทย ที่มีวิธีคิด นโยบายและวิถีปฏิบัติด้านความยั่งยืน
ผู้ก่อตั้งฮาร์โมนีย์ไลฟ์ – ธุรกิจฟาร์มออร์แกนิก อาหารที่ไม่ใช้สารเคมีปรุงแต่ง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และร้านอาหารสุขภาพ ได้สื่อสารและให้ความรู้แก่พนักงานในเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและอาหารปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ และผนวกหลักคิดนี้เข้าไปในการทำงานและการประเมินผล ทำให้เรื่องความยั่งยืนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร
กรณีศึกษา#5 บริษัท กาแฟอาข่า อ่ามา จำกัด – การบริหารทรัพยากรบุคคลของเอสเอ็มอีในประเทศไทย ที่มีวิธีคิด นโยบายและวิถีปฏิบัติด้านความยั่งยืน
อาข่า อ่ามา ธุรกิจกาแฟครบวงจรที่ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวเขาในภาคเหนือ ถือเป็นองค์กรของคนรุ่นใหม่ที่แท้จริงด้วยอายุเฉลี่ยของพนักงานเพียง 25 ปี และบริษัทมีเป้าหมายในการสร้าง “นักเปลี่ยนแปลง” คือ เลือกผู้ที่สมัครงานที่สนใจนำความรู้จากธุรกิจกาแฟกลับไปพัฒนาชุมชนแม้จะไม่มีประสบการณ์ ก่อนคนที่มีประสบการณ์พร้อมแล้ว และยินดีหากพนักงานจะลาออกเพื่อไปทำธุรกิจที่เกี่ยวกับกาแฟเพื่อสร้างคุณค่าทางสังคม
กรณีศึกษา#4 บริษัท สวนเงินมีมา จำกัด – การบริหารทรัพยากรบุคคลของเอสเอ็มอีในประเทศไทย ที่มีวิธีคิด นโยบายและวิถีปฏิบัติด้านความยั่งยืน
สวนเงินมีมาเกิดจากการรวมตัวกันของบุคลากรและองค์กรที่ทำงานด้านสังคม และนักธุรกิจที่มีความสนใจร่วมกันในด้านปัญหาสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาศักยภาพภายในของมนุษย์ และเป็นที่รวมตัวของพนักงานที่มีความสนใจและเชี่ยวชาญในประเด็นสังคมหรือสิ่งแวดล้อมตามหัวข้องานที่ได้รับมอบหมาย ที่เชื่อมโยงไปเป็นวิถีการใช้ชีวิตประจำ เช่น อาหารปลอดภัย และเกษตรยั่งยืน
กรณีศึกษา#3 – บริษัท โอเพ่นดรีม จำกัด การบริหารทรัพยากรบุคคลของเอสเอ็มอีในประเทศไทย ที่มีวิธีคิด นโยบายและวิถีปฏิบัติด้านความยั่งยืน
ด้วยการแข่งขันสูงและการทุ่มซื้อแรงงานในตลาดไอที โอเพ่นดรีมจึงไม่สามารถสรรหาแต่โปรแกรมเมอร์หรือดีไซเนอร์ที่มีใจในด้านสังคมหรือสิ่งแวดล้อมได้ บริษัทจึงสอดแทรกเนื้อหาด้านสังคมหรือสิ่งแวดล้อมผ่านการทำงานในแต่ละชิ้น เพื่อให้พนักงานเกิดการเรียนรู้และเข้าใจมากขึ้น และในท้ายสุดก็ทำให้เป้าหมายทางสังคมเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้พนักงานหลายคนอยู่กับบริษัทมายาวนาน
กรณีศึกษา#2 บริษัท โลเคิล อไลค์ จำกัด – การบริหารทรัพยากรบุคคลของเอสเอ็มอีในประเทศไทย ที่มีวิธีคิด นโยบายและวิถีปฏิบัติด้านความยั่งยืน
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางสังคมในด้านการพัฒนาชุมชนผ่านการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน โลเคิล อไลค์เสาะหาว่าที่พนักงานที่มี “ใจ” ทางสังคมเหมือนกัน และเพิ่มแนวคิดด้านความยั่งยืนผ่านกระบวนการทำงานจริงและการอบรมเรียนรู้ รวมถึงเน้นการพัฒนาพนักงานทั้งในสายอาชีพและเป้าหมายส่วนตัว และเน้นการตั้งเส้นทางอาชีพ (career path) ที่ชัดเจนสำหรับทุกคนในองค์กรที่ทั้งหมดเป็นคนรุ่นใหม่ และสนใจเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างคุณค่าทางสังคม ไปพร้อมกับการได้ค่าตอบแทนที่ “แข่งขันได้” ในตลาดแรงงาน